LDT

Case study 2

ผู้ป่วยหญิงไทย ผ่านการผ่าตัดศัลยกรรมหน้าอกมา สองปี มีอาการตึงด้านใต้รักแร้ และสีข้างมาโดยตลอด ⁃ ซักประวัติพบว่า เคยได้รับการนวดหน้าอก โดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านการนวดมาแล้ว ช่วยให้อาการตึงบริเวณหน้าอกดีขึ้น แต่อาการตึงด้านใต้รักแร้ และสีข้างยังคงอยู่ ⁃ ตรวจร่างกายพบว่า การไหลเวียนน้ำเหลืองบริเวณหน้าอกด้วนข้าง และรักแร้ไหลเวียนน้อยกว่าปกติ Nitro Casino für Österreichische Spieler ⁃ การรักษา กระตุ้นการระบายน้ำเหลืองบริเวณคอ รักแร้ และรอบเต้านม ⁃ ผู้ป่วยพบว่า อาการตึงใต้รักแร้และสีข้างหายไป ⁃ การดูแลตนเองที่บ้าน ให้ผู้ป่วยกระตุ้นการไหลเวียนน้ำเหลืองบริเวณ คอ รักแร้และเต้านม ด้วยตนเอง ⁃ ผ่านไปสองสัปดาห์ พบว่าอาการตึงใต้รักแร้และสีข้าง มีอาการตึงกลับมาเล็กน้อย   โดย กภ.ปรียานันท์

Case study 1

ผู้ป่วย มาด้วยอาการปวดไหล่ซ้าย ปวดมากตอนกลางคืน หรือไม่ได้ขยับตัว อาการเป็นๆหายๆมาประมาณ 6 เดือน ขณะมาพบนักกายภาพบำบัด ระดับความปวดบริเวณหัวไหล่ซ้ายอยู่ที่ pain scale 6/10 ⁃ ซักประวัติไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรง ⁃ การตรวจร่างกายพบว่า มีความตึงตัวของกล้ามเนื้อรวบหัวไหล่และหน้าอกซ้าย รวมถึงการไหลเวียนของน้ำเหลืองบริเวณคอซ้าย นิ่งกว่าปกติ องศาการเคลื่อนไหลของหัวไหล่. ปกติ(ยังไม่มีอาการของไหล่ติด) การรักษา รักษาด้วยการระบายน้ำเหลือง(Lymphatic Drainage Therapy) https://pkptclinic.com/lymphatic-drainage-therapy-program/บริเวณคอ รักแร้ซ้ายและต้นแขนซ้าย เป็นระยะเวลาประมาณ 5 นาที อาการบริเวณหัวไหล่ซ้ายหายไป pain scale 0/10 การดูแลตนเอง ⁃ การดูแลตนเองที่บ้าน ที่นักกายภาพบำบัดมอบให้ คือการระบายน้ำเหลืองบริเวณคอด้วยตนเอง และฝึกการหายใจ ⁃ หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ผู้ป่วยดูแลตนเองตามคำแนะนำและอาการปวดตอนกลางคืนไม่กลับมาอีก โดย กภ.ปรียานันท์ วงศ์กระสันต์