PK AT HOME

PK@HOME


HOME  /  OUR SERVICE  /  PK@HOME

บริการกายภาพบำบัดที่บ้านและนอกสถานที่ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทาง ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยติดเตียง พาร์กินสัน ฟื้นฟูหลังผ่าตัด ออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

  • นักกายภาพบำบัดของเราได้รับการฝึกฝนการเข้าหาผู้ป่วย (approach) และทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยในลักษณะต่างๆ เพื่อให้ได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยมากที่สุด
  • เรามีงานสัมมนาทุกเดือนเพื่อพัฒนาเทคนิคการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเรายังสรุปปัญหาและการป้องกันผู้ป่วยสำหรับแต่ละเคสที่เราดูแลทั้งหมด
  • เรามีทีมที่ปรึกษาเฉพาะด้านกายภาพบำบัด ซึ่งนักกายภาพบำบัดสามารถปรึกษาได้ตลอดเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและรวดเร็ว

ผู้ป่วยของเรา

ติดต่อ พีเค แอท โฮม 087-416-2825

โปรแกรมลดปวดและออกกำลังกายในผู้สูงอายุ

เมื่อร่างกายมีอายุเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเส้นประสาทต่างๆ มีความยืดหยุ่นลดลงทำให้รู้สึกเมื่อยล้าและหมดแรง รวมไปจนถึงภาวะกระดูกบางลงและมีความเสื่อมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้ม หรือข้อเคล็ด

เป้าหมาย​
  1. ​ลดอาการปวด
  2. เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เส้นประสาท และข้อต่อต่างๆ
  3. เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อส่วนที่จำเป็น เช่น กล้ามเนื้อลำตัว ข้อสะโพก และข้อเข่า
  4. ฝึกการทรงตัว เพื่อป้องกันการหกล้ม
  5. เพิ่มประสิทธิภาพปอดและหัวใจ

โปรแกรมฟื้นฟูหลังผ่าตัด

สำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ข้อสะโพก กระดูกสันหลัง เป็นต้น

เป้าหมายของการกายภาพบำบัด​
  1. ​บรรเทาอาการเจ็บปวด
  2. กระตุ้นหรือผ่อนคลายระบบต่างๆ เช่น ระบบน้ำเหลือง และการรับความรู้สึกในข้อ (joint perception)
  3. แนะนำการปฏิบัติตัวในชีวิตประจำวันเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  4. เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อในเวลาที่เหมาะสมและท่าทางถูกต้อง

โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียง

เมื่อร่างกายอยู่นิ่งเป็นเวลานาน จะทำให้การไหลเวียนเลือดและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ลดลง ดังนั้นการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานมากขึ้นจึงมีความสำคัญต่อผู้ป่วยติดเตียง

เป้าหมาย​
  1. ​ป้องกันข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเส้นประสาทหดสั้น
  2. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ยังสามารถทำงานได้
  3. เพิ่มการขยับและขยายตัวของผนังทรวงอก
  4. เพิ่มหรือรักษาประสิทธิภาพปอดและหัวใจ
  5. ระบายเสมหะโดยการเคาะหรือสั่นปอด
  6. กระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้

โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาต

เป้าหมาย​
  1. ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  2. เคาะปอดหรือสั่นปอดเพื่อกระตุ้นการระบายเสมหะ
  3. ออกกำลังกายกล้ามเนื้อทั้งส่วนที่อ่อนแรงและส่วนที่ปกติ
  4. ฝึกเรียนรู้การเคลื่อนไหวในแบบที่ถูกต้องตามแบบคนปกติ เช่น ฝึกลุกยืนและฝึกเดิน เป็นต้น
  5. ฝึกให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองเท่าที่ทำได้
  6. แนะนำวิธีป้องการกันบาดเจ็บที่เกิดระหว่างกิจวัตรประจำวัน

โปรแกรมฟื้นฟูผู้ป่วยพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง ทำให้เคลื่อนไหวลำบาก และมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งจนทำให้กล้ามเนื้อยึดติด ผู้ป่วยจึงไม่สามารถยืดแขนและขาได้สุด ดังนั้นการออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

เป้าหมาย​
  1. ลดการเกร็ง
  2. ระบายเสมหะ โดยการเคาะหรือสั่นปอด
  3. การฝึกหายใจ
  4. ปรับท่า (posture) เนื่องจากผู้ป่วยมักยืนหลังโค้งงอและไหล่ห่อ

โปรแกรมลดปวด

เมื่อร่างกายได้รับการบาดเจ็บจนมีการอักเสบมาก ผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวให้น้อยที่สุดเพื่อป้องกันการบาดเจ็บซ้ำและเพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองอย่างสมบูรณ์

เป้าหมาย​

ลดอาการปวดด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น ขยับเส้นประสาท และขยับอวัยวะภายใน

ติดต่อ พีเค แอท โฮม

กภ. ธาตริพัฒน์ บริสุทธิ์

087-416-2825

กภ. มุนินทร์ ประสงค์

095-505-9159