Herniated nucleus pulposus หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน
pathology
หมอนรองกระดูกมีส่วนประกอบหลักคือน้ำด้านในล้อมรอบด้วยเนื้อเยื้อที่เรียกว่าAnnulus fibrosus รอบด้านนอก เมื่อมีการฉีกขาดของ Annulus fibrosus จากแรงเฉือนที่กระทำต่อกระดูกสันหลังเช่นการก้มหลังและหมุนตัวอย่างรวดเร็ว หรือการยกของหนักเกินไป ทําให้ Nucleus pulposus ที่มีลักษณะเป็นเจลที่อยู่ตรงกลางด้านในเคลื่อนออกมาด้านนอกได้และอาจไปรบกวนเส้นประสาท(Nerve root)ที่อยู่ใกล้เคียงได้ จึงทำให้มีอาการปวดหลังและชาร้าวลงขา ในกรณีที่มีความรุนแรงมากอาจพบอาการอ่อนแรงของขาได้อีกด้วย
อาการและอาการแสดง
- มีอาการปวดหลัง อาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย
- อาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อก้มหลัง หรือไอ/จาม
- อาการดีขึ้นเมื่อแอ่นหลัง/นอนคว่ำ
- ในกรณีที่มีความรุนแรงมากจะพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาได้
การรักษา
ทางการแพทย์
- การผ่าตัด
ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
- ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมากรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น
- มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา
- มีภาวะกลั้นปัสสวะ อุจจาระไม่ได้(Cauda equina syndrome) ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการผ่าตัดค่อนข้างเร่งด่วน (Urgency) ภายใน 24 ชั่วโมง
- รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วอย่างนอย 4 สัปดาห์แต่ยังมีอาการปวดซึ่งรบกวนชีวิตประจําวันมาก
ทางกายภาพบำบัด
ระยะอักเสบ
- พักการใช้งาน/หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการปวด
- mckenzie therapy
- disc therapy
- ประคบเย็น , ultrasound
- ติดเทปเพื่อลดอาการปวด
ระยะเรื้อรัง
- ขยับข้อต่อที่มีการตึงรั้ง
- ลดแรงตึงตัวของเส้นประสาท
- ระบายน้ำเหลือง
- ออกกำลังกล้ามเนื้อมัดลึกบริเวณหลัง