ความรู้ทางสุขภาพ

Dislocated shoulder ข้อไหล่เคลื่อน

Pathology ข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย และเป็นข้อต่อที่เคลื่อนหรือหลุดได้บ่อยที่สุดเช่นกัน เมื่อเกิดข้อไหล่หลุดครั ้งหนึ่งแล้วจะมีโอกาสที่จะหลุดซํ้าอีก ข้อไหล่หลุดคือภาวะที่หัวกระดูกต้นแขนหลุดออกจากเบ้า มากกว่า 90% จะหลุดมาทางด้านหน้า เมื่อเกิดข้อไหล่หลุด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก หัวไหล่ผิดรูป ขยับแขนไม่ได้ บางรายอาจมีอาการแขนชาจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทข้อไหล่หลุด จัดเป็นหนึ่งในภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทันที สาเหตุของข้อไหล่หลุด ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แขนถูกกระชากหรือกระแทกโรคลมชัก ไฟฟ้าช็อต การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล วอลเลย์บอล รักบี้ ปีนเขา การบาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ การบาดเจ็บจากการล้ม โดยแขนกระแทกลงพื้นในบางกรณีอาจเกิดขึ้นจากโรคอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทต้นแขน ภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ หรือภาวะที่เส้นเอ็นทั่วร่างกายหย่อนแต่กำเนิด (Ehler – Danlos syndrome, Marfan’syndrome) ผู้ที่ร่างกายมีความยืนหยุ่นสูงมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการไหล่หลุดได้มากกว่า สำหรับผู้ป่วยที่มีข้อไหล่หลุดซํ้าบ่อยๆ ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บที่รุนแรงจนโครงสร้างข้อไหล่ไม่มั่นคง หรือจากการยึดตรึงหัวไหล่ไว้ไม่นานพอ ในผู้ป่ วยกลุ่มนี้ หัวไหล่จะหลวมและหลุดได้ง่ายเช่น ขณะยกแขนสูงกว่าระดับไหล่ หรือนอนยกแขนก่ายหน้าผาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถดึงหัวไหล่กลับเข้าที่ได้ง่าย แต่หัวไหล่จะหลุดซํ้าบ่อยๆ จนรบกวนชีวิตประจำวัน http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=694 Anatomy รูปร่างของข้อไหล่มีลักษณะคล้ายกับลูกกอล์ฟที่ตัง้ อยู่บนที ตัวลูกกอล์ฟ […]

Trigger finger นิ้วล็อค

Pathology โรคนิ้วล็อค ภาวะนิ้วล็อค หรือ ภาวะปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ (Trigger finger & Trigger thumb) เป็นภาวะที่มีสาเหตุเกิดจากการหนาตัวขึ้น ปลอกหุ้มเส้นเอ็นบริเวณฐานของนิ้วมือ (A1-pulley) ทำให้เส้นเอ็นเคลื่อนผ่านปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่หนาขึ้นนี้ด้วยความยากลำบากมีการเสียดสีทำให้เกิดอาการปวด หรือติดล็อคได้ โรคนี้พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และอายุที่พบบ่อยอยู่ประมาณ 40-50 ปี โดยมากจะเกิดกับผู้ที่ใช้งานมือในลักษณะเกร็งนิ้วบ่อย ๆ เช่น การทำงานบ้านต่าง ๆ การบิดผ้า การหิ้วของหนัก การใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตัดผ้า การยกของหนั กต่าง ๆ เป็นต้น อาการของโรคนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะแรกมีอาการปวดเป็นอาการหลัก โดยจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ จะมีอาการปวดมากขึ้น ถ้าเอานิ้วกดบริเวณฐานนิ้วมือด้านหน้า แต่ยังไม่มีอาการติดสะดุด ระยะที่สอง มีอาการสะดุด (triggering) เป็นอาการหลัก แต่อาการปวดก็มักจะเพิ่มมากขึ้นด้วย เวลาขยับนิ้วงอและเหยียดนิ้ว จะมีการสะดุดจนรู้สึกได้ ระยะที่สาม มีอาการติดล็อคเป็นอาการหลัก โดยเมื่องอนิ้วลงไปแล้ว จะติดล็อคจนไม่สามารถเหยียดนิ้วออกเองได้ ต้องเอามืออีกข้างมาช่วยแกะ หรือ อาจมีอาการมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้เอง […]

Shoulder hand syndrome

คือ เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการเจ็บปวดของมือและไหล่อย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของผิวหนั งบริเวณนั ้น ทำให้เกิดการปวดหัวไหล่ อย่างรุนแรง และมีการติดของข้อไหล่ตามมา มีอาการบวมและปวดของมือ ร่วมกับมีความผิดปกติของการหดและขยายตัวของหลอด เลือดบริเวณแขนและมือ ผูปวยมีอาการมือบวม รวมกับปวด หัวไหล่ร้าวลงมาที่มือ PATHOLOGY พยาธิสภาพของ Shoulder hand syndrome ยังไม่เป็นที่ทราบ แต่มีหนึ่งทฤษฎีคิดว่าหลัง การบาดเจ็บหรือการได้รับอุบัติเหตุนั้นเส้นประสาทบริเวณนั้นจะถูกทำลาย ทำให้ระบบประสาท อัตโนมัติ (Sympathetic nervous System) ถูกกระตุ้นการทำงานมากไป ซึ่งเป็นระบบ ประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับการเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและต่อมเหงื่อ สาเหตุ มีประวัติได้รับอุบัติเหตุ หลังผ่าตัด ถูกกดทับบริเวณเส้นประสาท ติดเชื้อ มะเร็ง มีปัญหาเกี่ยวกับคอ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการ/อาการแสดง มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณแขนอย่างรุนแรงมาเป็นระยะเวลานาน ไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่เคยได้รับ และอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ไม่สามารถใช้งานแขนส่วนนั้นได้ การรับรู็ความรู้สึกปวดผิดปกติไป เช่น เจ็บปวดมากเมื่อสัมผัสเบาๆ (allodynia) มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิว (ซีดหรือม่วง) มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (มักเย็นลง) หรือเหงื่อออกมากขึ้น มีการบวม มักเป็นที่ข้อไหล่ […]

Shoulder impingement/Rotator cuff tendinitis เส้นเอ็นหัวไหล่อักเสบจากการถูกกดทับ

Pathology การอักเสบของเส้นเอ็นข้อไหล่ เกิดขึ้นกับเอ็นที่เรียกว่า rotator cuff เป็นกลุ่มเอ็นของกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่รอบหัวไหล่ซึ่งเมื่อเส้นเอ็นไปเสียดสีกับเนื้อเยื่อรอบข้าง หรือกระดูกขณะที่ยกเเขน เพราะขณะที่ยกเเขนนั้นเองเอ็นจะขยับผ่านช่องว่างที่เรียกว่า subacromial space ที่อยู่ใต้กระดูก acromion ทำให้เอ็นเกิดการบาดเจ็บจนเกิดการอักเสบตามมา ส่วนใหญ่เเล้วอาจเกิดจากการใช้งานไหล่ซํ้าๆโดยเฉพาะงานที่ต้องยกแขนสูง เช่น ปัดฝุ่น หรือเช็ดถู ตัดแต่งกิ่งไม้ ทาสีฝาผนั งหรือเพดาน หรืองานหนั กที่ตอ้งใช้เเรงไหล่มาก เช่นงานที่ต้องยกแบกหรือหามของหนัก หรือพบในนักกีฬาที่ต้องยกแขนสูง เช่น บาสเกตบอล ว่ายนํ้า แบดมินตัน เทนนิส ซึ่งเอ็นกล้ามเนื้อจะมีขนาดใหญ่ ประกอบกับการใช้งานซํ้าๆ เอ็นมีการอักเสบได้ง่าย รวมถึงถุงนํ้าที่อยู่ตรง subacromial space ที่อาจมีการอักเสบเกิดขึ้น ในบางคนอาจมีลักษณะของกระดูกacromionเป็นปลายงุ้มเหมือนตะขอ เมื่อเทียบกับอีกกลุ่มที่เกิดมาเเล้วลักษณะกระดูกมีความมนเเบนกว่า ทำให้ในคนกลุ่มเเรกมักมีความเสี่ยงที่จะเกิดเอ็นหัวไหล่อักเสบมากกว่า หรืออาจเป็นจากกระดูกงอกที่บริเวณกระดูกacromionเมื่ออายุมากขึ้น

Frozen shoulder/adhesive capsulitis โรคไหล่ติด

Pathology สาเหตุของข้อไหล่ติด ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาทางพยาธิสรีรวิทยาพบการ มีการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อเป็นพังผืดตามมาทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลง พบได้ ประมาณ 2-5% ของประชากรมักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเป็นกับแขนทีไม่ถนัดมากกว่าข้างที่ถนัด และมีโอกาสเป็นทั้ง สองข้างได้ประมาณ 20-30% พบได้บ่อยในผู้ทีมีอายุระหว่าง 40 ถึง60 ปีและพบว่าผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคของต่อมธัยรอยด์ และโรคหัวใจ คนที่เคยเป็นเอ็นข้อไหล่อักเสบ คนที่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน บริเวณ ข้อศอก ข้อไหล่ หรือผ่าตัดเต้านม มีโอกาสเกิดภาวะข้อไหล่ติดได้มากกว่าคนทั่วไป ข้อไหล่ติดเป็นภาวะที่หายได้เอง เเต่อาจใช้เวลานานกว่าถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการ มี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะปวด ระยะข้อติด และระยะฟื้นตัว ระยะปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกว่า อาการปวดค่อยๆ เป็นมากขึ้น ปวดเมื่อมีการเคลื่อนไหว ปวดมากตอนกลางคืนจนรบกวนการนอน พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อจะค่อย ๆ ลดลง ระยะนี้มักนาน 2 ถึง 9เดือน ระยะข้อติด อาการปวดจากระยะแรกเริ่มลดลง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในทุกทิศทางลดลงชัดเจน อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันอย่างมาก ระยะนี ทั่วไปนาน […]

Manual therapy คืออะไร?

Manual therapy คือเทคนิคการรักษาโดยใช้มือเพื่อปรับโครงสร้างร่างกาย จากประสบการณ์การทำงานมากว่า 10 ปี ทำให้เราพบว่าเทคนิคการรักษาโดยการใช้มือมีความสำคัญและสามารถแก้ไขปัญหาผู้ป่วย ณ เวลานั้นๆได้ 50-70 % เลยที่เดียว  พีเคคลินิกกายภาพบำบัดจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญ ทำการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเทคนิคการรักษาด้วยมืออย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ จนมีความชำนาญและยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากความเจ็บป่วยซึ่งปัจจุบันเทคนิกการรักษาด้วยมือมีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเราต้องเลือกใช้แก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นๆ และมีการวิเคราะห์ผลของการรักษาอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่Mulligan’s techniqueเป็นเทคนิคที่คิดค้นโดย Brian R. Mulligan เทคนิคนี้สามารถเพิ่มการเคลื่อนไหว และลดอาการปวดขณะเคลื่อนไหว เป็นเทคนิคที่ทำได้รวดเร็วและไม่เจ็บปวดขณะรักษา สามารถลดความเจ็บปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหวได้ทันที ตัวอย่างอาการที่สามารถใช้เทคนิคนี้ในการรักษา ได้แก่ อาการปวดหัว มึนงง เนื่องจากปัญหาที่คอ ข้อเท้าแพลง อาการปวดเนื่องจากการบาดเจ็บ Tennis elbow หรืออาการปวดบริเวณข้อศอก ข้อติดจากอาการข้ออักเสบ เป็นต้นที่มา: http://www.bmulligan.com/Strain-counterstrain techniqueStrain and counterstrain คิดค้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 โดย Lawrence Jones, D.O. เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อที่ตึง […]

PK@Home

PK@Home กายภาพบำบัด ส่งสุขภาพดีถึงบ้าน บริษัทเราเน้นการรักษาและฟื้นฟู ในผู้ป่วยกลุ่มผู้สูงอายุ เช่น อัมพาต แขนขาอ่อนแรง พาร์กินสัน อัลไซเมอร์ เคลื่อนไหวไม่คล่องแคล้ว ผู้ป่วยระยะพักฟื้น ผู้ป่วยนอนติดเตียง และผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรงไม่สะดวกในการเดินทางเพราะการเดินทางทำให้อาการเพิ่มขึ้นเช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดข้อเข่า ปวดข้อเท้า ทางบริษัทได้จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่เหมาะสมกับผู้ป่วยและมีการรักษาโดยใช้ manual technique เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพการรักษาสูงสุดโดยได้มาตรฐานเดียวกับการมารักษาที่คลินิก พื้นที่บริการ: กรุงเทพฯและปริมณฑล (ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการไกลถึงนครปฐมและชลบุรี) สอบถามรายละเอียด-ติดต่อรับบริการ 087-416-2825, 02-880-9945

1 2 3 4