ความรู้ทางสุขภาพ

Plantar fasciitis โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ

โรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (รองช้ำ) คือ ภาวะที่มีการอักเสบของเอ็นใต้ฝ่าเท้า อาการสำคัญ อาการปวดจะเป็นมากในช่วงเช้า โดยเฉพาะก้าวแรกที่ลงจากเตียง หรือเมื่อยืนลงน้ำหนักหลังจากนั่งเป็นระยะเวลานาน, พบจุดกดเจ็บบริเวณฝ่าเท้า โดยเฉพาะส้นเท้ามักเป็นมาก, ปวดเมื่อเดินก้าวแรกหลังจากพัก แต่อาการปวดจะหายไปเมื่อเดินไปได้สักระยะ การอับเสบจะเกิดขึ้นที่เอ็นบริเวณส้นเท้าต่อเนื่องไปจนถึงเอ็นร้อยหวาย ในรายที่เป็นมานาน หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการจะเรื้อรังมากขึ้น และมักเอกซเรย์พบหินปูนงอกบริเวณกระดูกส้นเท้าด้วย ปัจจัยเสี่ยง คนสูงอายุ เนื่องจากพังผืดฝ่าเท้ามีความยืดหยุ่นน้อยลง คนที่มีน้ำหนักเกิน ทำให้พังผืดฝ่าเท้ารับแรงกระแทกมากขึ้น คนที่มีอาชีพยืนหรือเดินมาก ทำให้พังผืดฝ่าเท้าตึงเครียด คนที่มีอุ้งเท้าสูงหรือแบนผิดปกติก็อาจมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็งหรือพื้นบางเป็นประจำ วิธีรักษาให้ลาขาด จากโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ การพักและใช้ยาลดอาการอักเสบ การลดการเดิน (ใช้ไม้เท้าพยุง) การประคบความเย็นหรือน้ำแข็งประมาณ 20 นาที 3-4 ครั้ง/วัน ในตอนเย็นจะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้ดี การรับประทานยาลดอาการอักเสบควรพิจารณาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและไม่ควรรับประทานต่อเนื่องนานเกิน 2-3 สัปดาห์ การบริหาร การบริหารเอ็นร้อยหวายและพังผืดฝ่าเท้าที่เหมาะสม จะช่วยทั้งรักษาและป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ดีที่สุด การบริหารเพื่อยืดเอ็นร้อยหวาย

Ankle sprain ข้อเท้าแพลง

pathology เกิดจากมีการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไปจึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น มีอาการปวดและบวมตามมา หากรุนแรงมากอาจส่งผลให้เอ็นขาด สูญเสียความมั่นคงของข้อต่อ อาการและอาการแสดง การแบ่งความรุนแรงของข้อเท้าพลิก (Grading of ankle sprain) เพื่อใช้ในการพิจารณาระยะเวลาของการ รักษา และการพยากรณ์โรค Grade I: มีการยืดบางส่วนของเส้นเอ็นข้อเท้าด้านข้างนอก ผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณข้อเท้าด้านนอก ตรวจพบจุดกดเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ไม่พบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซเรย์ (stress film) Grade II: เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอกจะมีการฉีกขาดบางส่วน ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวมที่ข้อเท้า มีจุดกด เจ็บท่ีบริเวณเส้นเอ็น ในบางรายตรวจพบรอยห้อเลือด (ecchymosis) อาการปวดมากทําใหพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเท้า ลดลง ผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ําหนักได้แต่มักมีอาการปวดมาก อาจจะพบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซ์เรย์ (stress film) Grade III: เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอกมีการฉีกขาดทั้งเส้น ผู้ป่วยมีอาการปวด บวมมาก มีจุดกดเจ็บ และ อาจจะมีรอยหอเลือด ผู้ปวยไม่สามารถเดินลงน้ําหนักได้ อาจจะพบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซเรยปกติ (plain radiographs) การรักษา ทางกายภาพบำบัด ระยะอักเสบ […]

Herniated nucleus pulposus หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนเอวเคลื่อน

pathology หมอนรองกระดูกมีส่วนประกอบหลักคือน้ำด้านในล้อมรอบด้วยเนื้อเยื้อที่เรียกว่าAnnulus fibrosus รอบด้านนอก เมื่อมีการฉีกขาดของ Annulus fibrosus จากแรงเฉือนที่กระทำต่อกระดูกสันหลังเช่นการก้มหลังและหมุนตัวอย่างรวดเร็ว หรือการยกของหนักเกินไป ทําให้ Nucleus pulposus ที่มีลักษณะเป็นเจลที่อยู่ตรงกลางด้านในเคลื่อนออกมาด้านนอกได้และอาจไปรบกวนเส้นประสาท(Nerve root)ที่อยู่ใกล้เคียงได้ จึงทำให้มีอาการปวดหลังและชาร้าวลงขา ในกรณีที่มีความรุนแรงมากอาจพบอาการอ่อนแรงของขาได้อีกด้วย Ref: https://www.google.com/url?sa=i&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwjzn9zMwavfAhUGiHAKHfitDQEQjRx6BAgBEAU&url=http%3A%2F%2Fbert-firebert.blogspot.com%2F2010%2F01%2Fhernia-nucleus-pulposis-hnp-and-what-to.html&psig=AOvVaw1xaMzQScrnPO2guGyoFqCx&ust=1545295712512505 อาการและอาการแสดง -มีอาการปวดหลัง อาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย -อาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อก้มหลัง หรือไอ/จาม -อาการดีขึ้นเมื่อแอ่นหลัง/นอนคว่ำ -ในกรณีที่มีความรุนแรงมากจะพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขาได้ การรักษา ทางการแพทย์ การผ่าตัด ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรงมากรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขา มีภาวะกลั้นปัสสวะ อุจจาระไม่ได้(Cauda equina syndrome) ซึ่งจําเป็นต้องได้รับการผ่าตัดค่อนข้างเร่งด่วน (Urgency) ภายใน 24 ชั่วโมง รักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วอย่างนอย 4 สัปดาห์แต่ยังมีอาการปวดซึ่งรบกวนชีวิตประจําวันมาก ทางกายภาพบำบัด ระยะอักเสบ พักการใช้งาน/หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการปวด mckenzie therapy disc therapy ประคบเย็น , ultrasound ติดเทปเพื่อลดอาการปวด ระยะเรื้อรัง […]

cervical spondylosis โรคกระดูกคอเสื่อม

pathology มักสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพต่อโครงสร้างต่างๆของกระดูกสันหลัง โดยเมื่ออายุมากขึ้นปริมาณนํ้าในหมอนรองกระดูกมีปริมาณลดลงทำให้การรองรับแรงกระทำต่อกระดูกสันหลังลดลงส่งผลให้มีการตีบแคบ และการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมา ซึ่งอาจทำให้มีการรบกวนเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังระดับนั้นๆอีกด้วย โดยความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน เช่น ผู้ที่นั่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน Ref: https://www.google.com/url?sa=i&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwj44py1wavfAhUUS48KHTwqD38QjRx6BAgBEAU&url=https%3A%2F%2Fwww.wisegeek.com%2Fwhat-is-cervical-spondylosis.htm&psig=AOvVaw1vWktJhUnExqXjJjdgnJm1&ust=1545293602140560 อาการและอาการแสดง nociceptive pain :มักมีอาการปวดแบบ ปวดแหลม(sharp), ปวดตื้อ(dull-aching), ปวดตุบๆ (throbbing) บริเวณคอ, บ่าและหลังส่วนบน neurophatic pain :มีอาการปวดแบบ แสบร้อน(burning),การรับรู้ความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ(hyperalgesia) มีอาการได้ทั้ง บริเวณคอ,บ่า,แขน, ปลายนิ้วมือ มักมีอาการมากขึ้นเมื่อเงยหน้า หรือกิจกรรมที่ต้องนั่งนาน นอนพักหรือเปลี่ยนอิริยาบทอาการดีขึ้น อาจมีอาการเวียนศีรษะ อาจมีกำลังกล้ามเนื้อบริเวณบ่า ข้อศอก และนิ้วมือลดลง พบการแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง หรือมีหินปูนพอกตามกระดูกจาก x-ray ปัจจัยเสี่ยง การยกของหนัก นั่งเป็นเวลานาน การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่มีผลกับการไหลเวียนเลือดบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการเสื่อมเร็วขึ้น ผู้ที่เคยมีอาการปวดหลังร้าวลงขาเนื่องจากปัญกากระดูกสันหลังระดับเอว เคยมีอุบัติเหตุบริเวณคอ การรักษาทางการแพทย์ ลดอาการปวด : ยาลดปวด,ลดอักเสบ ในกรณีที่มีระดับความรุนแรงมาก :ผ่าตัด การรักษาทางกายภาพบำบัด ระยะอักเสบ พักการใช้งาน/หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการปวด […]

Both bones forearm fracture

Pathology เเขนท่อนล่างประกอบด้วยกระดูกสองชิ้น คือ กระดูก radius เเละ ulna ซึ่งการเคลื่อนไหวหลักของมันคือ การหมุน หรือการคว่ำหงายเเขน โดยกระดูก radius จะหมุนรอบกระดูก ulna ดังนั้นเมื่อมีการหักของกระดูกเเขนจึงมีผลต่อการคว่ำหงายเเขนรวมถึงการเคลื่อนไหวศอกเเละข้อมือ ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวด บวม และการผิดรูปที่ค่อนข้างชัดเจนของเเขนท่อนล่าง ร่วมกับ X-ray พบการหักของกระดูก radius และ ulna บางรายอาจพบอาการชา อาการอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อ ร่วมด้วย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเส้นเลือดเเละเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง สาเหตุทั่วไปเกิดจาก มีเเรงมากระเเทก ปะทะโดยตรง ล้มในลักษณะที่เเขนเหยียดออก มักเกิดจากขณะเล่นกีฬาหรือล้มจากที่สูง อุบัติเหตุทางรถยนต์ รูปเเบบของการหักมีหลายเเบบ อาจจะเกิดการเลื่อนเพียงเล็กน้อยหรือจนกระทั่งอาจเกิดการหักเป็นชิ้นหลายชิ้น ซึ่งกระดูกที่หักเป็นชิ้นนั้นอาจอยู่ในเเนวตรงหรือเลื่อนหลุดจากที่ไป ในเด็กอาจพบลักษณะ incomplete fracture ( green-stick ) หรือ plastic deformation เนื่องจากเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) หนา การหักเเบ่งออกเป็นสองเเบบใหญ่ คือ Open fracture กระดูกที่หักจะเเทงทะลุออกมานอกผิวหนัง เป็นเเผลเปิด […]

Thoracic outlet syndrome

TOS (Thoracic Outlet Syndrome) หรือกลุ่มอาการทีโอเอส เกิดจากการกดทับของเส้นเลือดและเส้นประสาทบริเวณระหว่างต้นคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าของไหล่และหน้าอก โดยกลุ่มอาการแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ อาการเกิดกับหลอดเลือด เป็นการบีบรัดจนทำให้เกิดแรงกดที่หลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า อาจเกิดเพียงหลอดเลือดเดียวหรือหลายหลอดเลือด อาการเกิดกับเส้นประสาท เกิดการกดทับบริเวณเส้นประสาทระหว่างต้นคอกับรักแร้ไปจนถึงด้านหน้าของไหล่และหน้าอกที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและความรู้สึกของไหล่ แขน และมือ อาการเกิดจากสาเหตุคลุมเครือ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณระหว่างต้นคอกับรักแร้โดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งแพทย์อาจต้องใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าเพื่อช่วยหาสาเหตุ ทั้งนี้ TOS สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบได้ในผู้หญิงอายุ 20-40 ปีเป็นส่วนใหญ่ และสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน อาการของ TOS ผู้ป่วยอาจมีอาการที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่ามีการกดทับบริเวณเส้นประสาทหรือหลอดเลือด ซึ่งหากเกิดการกดทับที่หลอดเลือดก็อาจทำให้มีอาการ ดังต่อไปนี้ ปวดและบวมที่แขน ซึ่งอาจเกิดจากการกดทับจนทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวกแล้วเกิดลิ่มเลือดอุดตันบริเวณดังกล่าว แขนอ่อนแรง หรือตรวจชีพจรไม่พบในแขนข้างที่มีอาการ มือและนิ้วเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือม่วงคล้ำคล้ายฟกช้ำ แขน มือ และนิ้วมือเย็นผิดปกติ เกิดอาการเหน็บชาบริเวณนิ้วมือข้างที่มีอาการ มีก้อนเนื้อที่มีการเคลื่อนตัวเป็นจังหวะบริเวณใกล้กับกระดูกไหปลาร้า ส่วนการกดทับที่เส้นประสาทบริเวณคอจะทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ดังนี้ กล้ามเนื้อบริเวณฐานนิ้วโป้งลีบลง กำมือได้ไม่แน่น เนื่องจากไม่มีแรง เกิดอาการชาที่แขนหรือนิ้วมือ ปวดบริเวณคอ ไหล่ หรือมือ ทั้งนี้ หากอาการที่เกิดเริ่มรุนแรงขึ้น […]

Brachial plexus injury

Pathology ผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของข่ายประสาทแขน ส่วนใหญ่ (C5, C6) มักจะมีปัญหาไม่สามารถงอศอก ยกแขนได้ ส่วนมากเป็นข้างใดข้างหนึ่ง ในกรณีที่มีการบาดเจ็บของระดับ C7 ร่วมด้วยจะมี อาการแสดงสำคัญ คือไม่สามารถกระดกข้อมือขึ้นได้ (wrist drop) ในบางรายจะไม่สามารถเหยียดนิ้ว แบมือได้ในกรณีที่เป็นการบาดเจ็บทั้งหมด ผู้ป่วยจะ ไม่สามารถเคลื่อนไหวของแขนทั้งข้างได้(total paralysis of upper extremity) ในกรณีที่มีการบาดเจ็บของsympathetic chain จะตรวจอาการแสดงของ Horner ‘s syndrome คือ miosis, ptosis และ anhydrosis ซึ่งมักจะหมายถึงการบาดเจ็บที่รุนแรง ในลักษณะที่เป็น root avulsion injury Anatomy Brachial plexus เป็นข่ายประสาทที่เกิดจาก การรวมตัวของ vental motor nerve roots ใน ระดับ C5ถึงT1 โดย C5และ C6จะรวมเป็น upper […]

Tennis elbow เอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ

Pathology บริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านนอก (lateral epicondyle) เป็นตำแหน่งที่เกาะของเอ็นกล้ามเนื้อกลุ่มกระดกข้อมือ(wrist extensor muscle) ดังนั้นเมื่อกล้ามเนื้อเมื่อมีการใช้งานที่เกี่ยวกับการทำงานข้อมือซ้ำๆหรือเป็นระยะเวลานานจึงทำให้เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบและมีอาการเจ็บที่ข้อศอกได้ อาการ/อาการแสดง อาจมีปวด บวม แดง ร้อน บริเวณข้อศอก มีจุดกดเจ็บบริเวณข้อศอกทางด้านนอก มีอาการเจ็บหรือปวดบริเวณรอบ ๆ ข้อศอกด้านนอก หรือบริเวณกล้ามเนื้อข้อศอกจะมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องเกร็งกล้ามเนื้อในการกระดกข้อมือ หรือเหยียดนิ้วมือ เช่น การบิดผ้า การเปิดฝาขวดน้ำ หรือการหิ้วของ การรักษา ระยะอักเสบ (มีอาการปวดในช่วง1-3วันแรก) ลดการอักเสบ ; พักการใช้งานที่มือ ประคบเย็นบริเวณศอก 15 นาที ระยะเรื้อรัง (มีอาการปวด 3 อาทิตย์ขึ้นไป) ประคบร้อนเพื่อลดแรงตึงของบริเวณหน้าแขน ยืดกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าแขน ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกลุ่มกล้ามเหยียดมือ (wrist extensor muscle)

Carpal tunnel syndrome โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

Pathology ภาวะที่ช่อง carpal tunnel นั้นตีบแคบลงจึงทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท median ได้ สาเหตุ มีภาวะบวมบริเวณข้อมือ เกิดได้จาก อุบัติเหตุบริเวณข้อมือ, การอักเสบจากเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ, การตั้งครรภ์, ภาวะเบาหวาน, โรคไต ganglion cysts หรือ ก้อนถุงน้ำ มักพบบริเวณข้อมือซึ่งไปรบกวนเส้นประสาทได้ ในคนที่กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับได้มากขึ้น เนื่องจากการลำเลียงสารอาหารที่จะลงไปสู่เส้นประสาทส่วนปลายลดลงทำให้เส้นประสาทบริเวณข้อมือทนการกดทับได้น้อยลง การใช้งานที่ข้อมือซ้ำๆหรือการใช้นิ้วหนีบจับอะไรนานๆ(รวมแล้วมากกว่า3ชั่วโมงต่อวัน) เช่น แคชเชียร์, การทำความสะอาดบ้าน (ซักผ้าด้วยมือ, กวาดบ้าน) ,งานช่างไม้ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อด้านหน้าแขนมีแรงตึงสูงขึ้นส่งผลให้ปลอกเยื้อหุ้มข้อมือด้านหน้าตึงมากขึ้นและกดทับเส้นประสาทได้ การใช้คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานาน ท่านั่ง การนั่งที่ไม่เหมาะสมหรือการนั่งเป็นเวลานานจะส่งเสริมความตึงของเส้นประสาทส่วนกลางส่งผลให้การลำเลียงของสารอาหารไปยังปลายประสาทส่วนปลายลดลงและทำให้เส้นประสาทส่วนปลายทนต่อแรงกดทับได้น้อยลงจึงถูกกดทับได้มากขึ้น เก้าอี้ที่นั่งเตี้ยเกินไปเมื่อเทียบกับความสูงของโต๊ะทำให้ต้องงอข้อมือมากขึ้นเพื่อทำงาน ระยะห่างระหว่างของเมาส์/คีย์บอร์ด/จอคอมพิวเตอร์ ต่อที่นั่ง ไม่เหมาะสม ทำให้บริเวณข้อมือถูกกดทับได้มากขึ้น ergonomic รูปแบบของเมาส์ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ต้องถือโทรศัพท์/taplet เป็นเวลานาน ทำให้แรเกร็งของมือและแขนมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อความตึงของปลอกเยื้อหุ้มข้อมือได้ อาการ รู้สึกชาฝ่ามือบริเวณนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว จะรู้สึกมากขึ้นตอนช่วงแรกของการนอน และเมื่อทำกิจกรรมที่งอหรือเหยียดข้อมือชัดเจน อาการจะดีขึ้นเมื่อไก้สะบัดมือ https://theclimbingdoctor.com/wp-content/uploads/2016/06/Carpal-Tunnel-Syndrome-Rehabilitation-Program-Climbing-2.jpg Treatment ระยะอักเสบ […]

Rotator cuff tear เอ็นข้อไหล่ขาด

เอ็นข้อไหล่ (rotator cuff) คือ กลุ่มเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ที่ทำหน้าที่เชื่อมระหว่าง humerus (แขนบน) และ scapula (ไหปลาร้า) เข้าด้วยกัน ทำให้หัวไหล่มีความแข็งแรงและทำให้กล้ามเนื้อไหล่หมุนได้ แต่หากเอ็นข้อไหล่ฉีกอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและไม่สามารถยกแขนได้ตามปกติ https://www.bumrungrad.com/th/orthopedic-surgery-care-center-bangkok-thailand/conditions/shoulder-rotator-cuff-surgery Pathology แบ่งได้เป็นสองกลุ่มคือกลุ่มแรกมีการฉีกขาดในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย มีประวัติการบาดเจ็บที่ข้อไหล่ชัดเจนเช่นข้อไหล่หลุด โดยไม่มีรอยโรคหรือภาวะเสื่อมที่เส้นเอ็นข้อไหล่มาก่อน (traumatic cuff tear – TCT) การออกแรงมากเกินไป หมายถึง แรงที่เกิดขึ้นจากความพยายามที่จะจับวัตถุที่กำลังหล่นลงมาหรือยกวัตถุที่หนักมากด้วยมือที่ยืดออก รวมถึงแรงที่เกิดจากการตกกระแทกลงบนไหล่โดยตรง ซึ่งทำให้เกิดอาการบาดเจ็บและส่งผลให้เอ็นข้อไหล่ฉีกได้ และกลุ่มอายุในวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่การฉีกขาดเกิดในเส้นเอ็นข้อไหล่ที่เริ่มมีการเสื่อมตามอายุแล้ว (Degenerative cuff tear – DCT) โดยในกลุ่มที่สองนี้จะมีจำนวนที่มากกว่าในกลุ่มแรก การเสื่อมสภาพ ของเอ็นข้อไหล่ตามกาลเวลา โดยทั่วไปในร่างกายของเรา ส่วนที่มีเลือดไปเลี้ยงมากจะมีการรักษาตัวเองได้มากและเร็วขึ้น ส่วนบริเวณที่มีเลือดหล่อเลี้ยงน้อย เช่น เอ็นข้อไหล่ จะทำให้บริเวณนั้นเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา และส่งผลให้กลุ่มเส้นเอ็นเปราะและฉีกขาดง่าย เอ็นข้อไหล่ฉีกจึงเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ในผู้สูงอายุ การเคลื่อนไหวของหัวไหล่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เมื่อร่วมกับการเสื่อมสภาพของเอ็นข้อไหล่จะทำให้อาการแย่ลงเรื่อยๆ โดยสาเหตุนี้จะพบได้ในนักกีฬาที่ต้องเขวี้ยงมือเป็นประจำ เช่น นักเบสบอล รวมถึงการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น เช็ดหน้าต่าง ล้างรถ ทาสี […]

1 2 3 4