cervical spondylosis โรคกระดูกคอเสื่อม
pathology
มักสัมพันธ์กับอายุที่มากขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมสภาพต่อโครงสร้างต่างๆของกระดูกสันหลัง โดยเมื่ออายุมากขึ้นปริมาณน้ำในหมอนรองกระดูกมีมีปริมาณลดลงทำให้การรองรับแรงกระทำต่อกระดูกสันหลังลดลงส่งผลให้มีการตีบแคบและการเสื่อมของกระดูกสันหลังตามมา ซึ่งอาจทำให้มีการรบกวนเส้นประสาทที่ออกมาจากกระดูกสันหลังระดับนั้นๆอีกด้วย โดยความรุนแรงของโรคจะเพิ่มขึ้นจากการใช้งาน เช่นผู้ที่นั่งใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
อาการและอาการแสดง
- nociceptive pain :มักมีอาการปวดแบบ ปวดแหลม(sharp), ปวดตื้อ(dull-aching), ปวดตุบๆ (throbbing) บริเวณคอ, บ่าและหลังส่วนบน
- neurophatic pain :มีอาการปวดแบบ แสบร้อน(burning),การรับรู้ความรู้สึกปวดมากกว่าปกติ(hyperalgesia) มีอาการได้ทั้ง บริเวณคอ,บ่า,แขน, ปลายนิ้วมือ
- มักมีอาการมากขึ้นเมื่อเงยหน้า หรือกิจกรรมที่ต้องนั่งนาน
- นอนพักหรือเปลี่ยนอิริยาบทอาการดีขึ้น
- อาจมีอาการเวียนศีรษะ
- อาจมีกำลังกล้ามเนื้อบริเวณบ่า ข้อศอก และนิ้วมือลดลง
- พบการแคบลงของช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง หรือมีหินปูนพอกตามกระดูกจาก x-ray
ปัจจัยเสี่ยง
- การยกของหนัก
- นั่งเป็นเวลานาน
- การสูบบุหรี่ สารนิโคตินในบุหรี่มีผลกับการไหลเวียนเลือดบริเวณกระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการเสื่อมเร็วขึ้น
- ผู้ที่เคยมีอาการปวดหลังร้าวลงขาเนื่องจากปัญกากระดูกสันหลังระดับเอว
- เคยมีอุบัติเหตุบริเวณคอ
การรักษาทางการแพทย์
- ลดอาการปวด : ยาลดปวด,ลดอักเสบ
- ในกรณีที่มีระดับความรุนแรงมาก :ผ่าตัด
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- ระยะอักเสบ
- พักการใช้งาน/หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กระตุ้นอาการปวด
- ประคบเย็น , ultrasound
- ติดเทปเพื่อลดอาการปวด
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดลึกบริเวณคอ/สะบักโดยไม่รบกวนอาการปวด
- ระยะเรื้อรัง
- คลายกล้ามนเนื้อ
- ลดแรงตึงตัวของเส้นประสาท
- ระบายน้ำเหลือง
- ขยับข้อต่อบริเวณคอ
- ออกกำลังกล้ามเนื้อที่ช่วงลดแรงกระทำต่อข้อต่อบริเวณคอ
- ปรับท่าทางให้ถูกต้องเหมาะสม/ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสม