ช่องกระดูกสันหลังแคบ(Lumbar Stenosis)

Spondylosis
รูปที่ 1 กระดูกสันหลังเสื่อม (lumbar spine L2-sacrum)
ที่มา: Netter’s Clinical Anatomy

เมื่อท่านมีอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ปวดร้าวลงขาอาจมีร่วมกับอาการชา เมื่อเดินหรือยืนนานๆ

ช่องกระดูกสันหลังแคบ (lumbar stenosis)  อาการปวดหลัง ปวดสะโพก เดิน ยืนได้ไม่นาน เคยเกิดขึ้นกับท่านหรือไม่? ถ้าทำความเข้าใจกับสาเหตุของอาการปวดของท่านได้

ก็ไม่ยากเกินไปเลยคะ ในการดูแลตัวเอง เอาละคะคราวนี้เราก็มาทำความเข้าใจถึงสาเหตุ ปัจจัยในการทำให้เกิดอาการปวดหลัง

การดูแลตนเองและการรักษากันเลยนะคะ

กายวิภาคศาสตร์และพยาธิสภาพ 

กระดูกสันหลังเป็นส่วนที่มีการรับน้ำหนักตลอดชีวิตของมนุษย์ โดยลักษณะโครงสร้างทางธรรมชาติจะมีลักษณะกายวิภาคศาสตร์ประกอบไปด้วยกระดูกสันหลังที่เป็นกระดูกแข็ง(Vertebral body) 2 ชิ้น หมอนรองกระดูกสันหลัง(Vertebral disc) คั่นกลาง

เพื่อกระจายแรงที่มากระทำกับหลัง ประกอบกันเป็นข้อต่อกระดูกสันหลัง

โดยมีกระดูกอ่อน(cartilage)ทำหน้าที่ลดการเสียดสีเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อต่อ

 

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดกระดูกสันหลังตีบแคบ

1. อายุ กระดูกสันหลังเสื่อม (Spinal spondylosis)

 เมื่อเราอายุมากขึ้นกระดูกอ่อนจะมีการสูญเสียน้ำมากขึ้นและกระบวนการสร้างเซลล์ใหม่ของกระดูกอ่อนลดลง

 ทำให้สมดุลการสร้างและการทำลายกระดูกอ่อนสูญเสียไป เกิดการทำลายเซลล์กระดูกอ่อนมากกว่าการสร้างใหม่

 นอกจากนี้หมอนรองกระดูกสันหลังก็จะมีการสูญเสียน้ำตามอายุที่มากขึ้น

 ทำให้กระจายแรงที่กระทำต่อกระดูกสันหลังได้ไม่ดี เมื่อวันเวลาผ่านไปหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะค่อยๆเสื่อมหรือมีกระดูกงอก

 เป็นเหตุให้ช่องที่รากประสาทออกหรือช่องประสาทเกิดการตีบแคบมากขึ้น เส้นประสาทเสี่ยงต่อการถูกกดทับ

 หากมีแรงกระทำที่มากกว่าปกติจากภายนอกมากระทำ เช่น ยกของหนัก หรือหกล้มก้นกระแทก

 ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของข้อต่อหรือเส้นประสาทจนเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขาได้

2. ความอ้วน น้ำหนักตัวที่มาก กระดูกสันหลังก็ต้องรับน้ำหนักที่มากทำให้เกิดความเสื่อมเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ

และเพิ่มความเสี่ยงในการที่เส้นประสาทถูกกดทับมากขึ้น

3. พฤติกรรมการปฏิบัติตัว เช่น พฤติกรรมนั่งหลังค่อม นั่งทำงานคอมพิวเตอร์ด้วยท่าทางหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

การยกของหนักเกินไปโดยไม่ใช้ตัวช่วยหรือยกในท่าทางที่ผิด

4. การทำงานหนักหรือยกของหนักมาเป็นเวลานานๆ

5. ขาดการออกกำลังกาย

6. อุบัติเหตุ เช่น หกล้มก้นกระแทก จากการเล่นกีฬา แล้วไม่ได้รับการรักษาจะเมื่อมีการใช้งานนาน

7. สตรีวัยหมดประจำเดือน เมื่อหมดประจำเดือนฮอร์โมนเพศหญิงหมด จะทำให้การสร้างเซลล์กระดูกลดลง

เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงมีส่วนช่วยในการสร้างเซลล์กระดูก แต่การทำลายยังคงอยู่ดังนั้นผู้หญิงจึงมีโอกาสที่จะมีกระดูกเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายที่มีออร์โมนเพศตลอดชีวิต

สาเหตุและปัจจัยเหล่านี้นั้นก็มีผลทำให้ช่องโพรงประสาทของกระดูกสันหลังแคบลง ยังผลให้มีความเสี่ยงในการบาดเจ็บต่อข้อต่อและเส้นประสาทได้ง่ายขึ้นจนเกิดอาการปวดหลัง ปวดสะโพกหรือมีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทลงขาได้

ข้อต่อกระดูกสันหลังแคบมีอาการและอาการแสดงอย่างไร

1.      ปวดหลัง ปวดสะโพก เมื่อมีการเดินมากๆ ยืนนานๆ หรือยกของหนัก ทำให้ถ้าได้นั่งพักอาการจะดีขึ้น

หากอาการมากอาจมีอาการปวดร้าวลงขา ต้นขาหรือน่อง ถ้าเส้นประสาทถูกหระตุ้นหรือบาดเจ็บเป็นเวลานานอาจมีอาการชาตามบริเวณดังกล่าวได้

2.      นอนหงายนาน อาจมีอาการเมื่อยหลังหรือสะโพกจนถึงอาการปวด พลิกตะแคงตัวหรือนั่งลุกขึ้นยืนอาจมีอาการปวดหรือเมื่อยสะโพกได้

3.      หากเส้นประสาทเกิดการเสียหายมากอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อบริเวณขาอ่อนแรงได้

การรักษา

1. การรักษาทางกายภาพบำบัด เป็นการรักษาทางธรรมชาติ โดยไม่ต้องรับประทานยา

การรักษาทางกายภาพบำบัดนั้นจำเป็นต้องเน้นการตรวจร่างกายทางกายภาพ

ซึ่งเป็นการตรวจร่างกายโดยใช้การเคลื่อนไหวในการตรวจ เช่น ก้มตัว แอ่นตัว การตรวจเคลื่อนไหวของข้อต่อกระดูกสันหลัง

การตรวจความตึงตัวของเส้นประสาท การตรวจการรับความรู้สึกของเส้นประสาท การตรวจกำลังกล้ามเนื้อ

นำมาวิเคราะห์ถึงพยาธิสภาพของผู้ป่วย เพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

Mobilization technique

  • หลังจากการตรวจร่างกายและวิเคราะห์พยาธิสภาพแล้ว จะมีการวางแผนในการรักษาต่อ

การลดการอักเสบ

โดยใช้ความเย็น ความเย็นจะทำให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดบริเวณพยาธิสภาพ

เพื่อลดการหลั่งของสารอักเสบ ที่ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน

ice pack
ice pack

ใช้เครื่องอัลตราซาวด์(Ultrasound) เพื่อเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย และช่วยในการปรับแต่งแผล

เพิ่มประสิทธิภาพของการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย เพื่อให้เกิดผลที่ดีและรวดเร็วขึ้นอีกด้วย

Ultrasound
Ultrasound

ลดความเครียดที่เกิดขึ้นบริเวณพยาธิสภาพ

การจัด ดัด ข้อต่อกระดูกสันหลัง (Mobilization) การบาดเจ็บบริเวณพยาธิสภาพนั้นมักเกิดขึ้นเนื่องมาจากการทำงานที่มากเกินไปของข้อต่อบริเวณนั้น

ซึ่งอาจเกิดจากข้อต่อที่อยู่เหนือขึ้นไปหรือล่างต่อลงมา ไม่ทำงานหรือทำงานน้อย

จึงทำให้ข้อต่อบริเวณที่มีพยาธิสภาพนั้นเกิดการเสื่อมและตีบแคบไวกว่าบริเวณอื่น

ดังนั้นต้องมีการดัดหรือจัดข้อต่อบริเวณที่มีการเคลื่อนไหวน้อย เพื่อช่วยลดการใช้งานของบริเวณที่มีพยาธิสภาพนั้นๆ

การลดความตึงตัวของเส้นประสาท

การนวด(Massage) หลังจากมีการตรวจความตึงตัวของเส้นประสาทแล้ว

หากมีการบาดเจ็บหรือการอักเสบรบกวนบริเวณเส้นประสาทมาเป็นเวลานาน เส้นประสาทภายในจะเริ่มมีการตึงตัว

นอกจากนี้ยังเป็นให้เกิดความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยงและวิ่งผ่านเกิดความตึงตัว

เมื่อเป็นระยะเวลานานก็จะเพิ่มความตึงตัวของเส้นประสาทมากขึ้นอีก ซึ่งจะทำให้เส้นประสาทขาดเลือดไปเลี้ยง และเกิดเป็นการบาดเจ็บซ้ำซ้อน

ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหรือชาหลังร้าวลงขามากขึ้นอีกด้วย

การขยับเส้นประสาท(Nerve mobilization) เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดภายในเส้นประสาท

จากนั้นเส้นประสาทจะลดความเครียดความตึงตัวลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดและตึงลดลง

การป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมและซ้ำซ้อน

การพันเทป(Taping) เมื่อมีการบาดเจ็บเกิดขึ้นบริเวณนั้นๆ สิ่งที่ร่างกายต้องการคือการพักบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ

เพื่อให้กระบวนการซ่อมแซมของร่างกายทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพ แต่ในบางครั้งเราก็มักจะยังใช้งานในส่วนนั้นๆ อยู่ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

จึงมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ด้วยเทคนิคการพันเทป

จะช่วยลดการใช้งานบริเวณบาดเจ็บและเป็นตัวช่วยเตือนจำกัดการเคลื่อนไหวที่ต้องห้ามให้แก่ผู้ป่วยได้

การรักษาตัวเองของร่างกายจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดการบาดเจ็บซ้ำซ้อนของเนื้อเยื่อเหล่านั้นได้

เพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ

การออกกำลังกาย(Strengthening) นักกายภาพบำบัดจะช่วยออกแบบท่าทางในการออกกำลังกาย

เพื่อให้เหมาะสมกับกำลังของกล้ามเนื้อ หน้าที่การทำงานของกล้ามเนื้อ เพื่อนำไปใช้งานในชีวิตประจำวัน ลดการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้นอีก

การยืดกล้ามเนื้อ(Stretching) การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นต่อบริเวณหนึ่งๆนั้นมักเกิดจากความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อที่ทำงานร่วมกัน

กล้ามเนื้อบางมัดอาจมีความตึงตัวเกินไปจึงทำให้สมดุลในการทำงานเสียไป เกิดการบาดเจ็บขึ้นในที่สุด

นักกายภาพจะช่วยในการออกแบบท่าทางให้เหมาะสมกับสภาพของกล้ามเนื้อและให้เฉพาะเจาะจงแก่ผู้ป่วย

  •  การแนะนำให้ความรู้ในการดูแลตัวเอง

การแนะนำให้ความรู้ความเข้าใจ (Education) ความรู้ความเข้าใจในพยาธิสภาพเป็นสิ่ฝที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่ง

เพื่อให้ผู้ป่วยได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดกลุ่มอาการช่องกระดูกสันหลังแคบ

การดูแลตัวเองเมื่อมีการอักเสบ เมื่อมีอาการปวด บวม แดง ร้อน ให้ใช้แผ่นเย็นประคบ 15 นาทีต่อครั้ง

สามารถประคบได้บ่อยในแต่ละวันจนอาการปวด บวม แดง ร้อนจะหายไป

การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ(Specific exercises) เมื่อมีความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลังเกิดขึ้น

เราจึงควรต้องมีการออกกำลังกายกล้ามเนื้อเพื่อทดแทน ส่วนที่เสียไป เพื่อลดแรงกดต่อกระดูกสันหลัง

ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง ปวดสะโพก ชาตามขา

2. การรักษาทางยา เป็นการรักษาทางยาตามการวินิฉัยของแพทย์ เช่น ยาแก้ปวดอักเสบแบบไม่มีสเตอรอยด์(NSAIDs, Non-steroidal anti-inflammatory drugs)

3.การฉีดยา อาจเป็นการฉีดยาแก้ปวดหรืออาจเป็นยาสเตอรอยด์ที่ฉีดบริเวณที่มีการอักเสบ

4.การผ่าตัด

อารีย์ วิทยสุนทร

นักกายภาพบำบัด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก