พยาบาลหญิง ปวดและอ่อนแรงนิ้วโป้งมือ

ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ47 ปีประกอบอาชีพพยาบาลมาด้วยอาการปวดและอ่อนแรงนิ้วโป้งมือทั้งสองข้างด้านซ้ายมากกว่า
ด้านขวาร่วมกับอาการชานิ้ว โป้งนิ้วชีนิ้วกลางรู้สึกเหมือนหยิบน้ำแข็งตลอดเวลามาเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ก่อนหน้านี้พบแพทย์แพทย์
EMG(18/06/2562) พบ
-severe left median neuropathy at wrist level
-right median neuropathy at wrist level
-bilateral chronic proximal median neuropathy above branch to pronator teres muscle
-no electrophysiologic evidence of c6-T1, radiculopathy nor brachial plexopathy

MRI(18/07/2562)พบ
-mild bilging of the c4/5 and the c5/6 disc without spinal stenosis,
spinal cord compression, neural foraminal narrowing or c5 c6 nerve root compression

ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการทานยาลดปวด และ ทานยาปลายประสาทอักเสบ เป็นประจำ แต่ไม่ดีขึ้นมีอาการปวดและชาเพิ่มขึ้นจึงมาทำกายภาพบำบัดแรกรับในวันที่ 6 มกราคม 2563

ตรวจร่างกาย
Observation
-both thenar muscles atrophy

Palpation
-tenderness at both 1st carpometacarpal joint
-tension at wrist flexor group both sides
-both transverse carpal ligament thickening

Active movement
ในท่านั่ง: ผู้ป่วยมีอาการตึงคอทั่งสองข้าง ชาฝ่ามึงและนิ้วมือบริเวณ นิ้วโป้งนิ้วกลางและนิ้วชี้
Cx F/E มีอาการตึงคอเพิ่มขึ้น อาการชามือเท่าเดิม
Distraction ผู้ป่วยมีอาการปวดนิ้วโป้งซ้ายเพิ่มขึ้น * compareble sign

Special test
– tinel sign positive both sides

จากการตรวจร่างกายจึงวินิจฉัยว่าเป็น carpal tunnel syndrome
แต่เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการตึงคอบ่ามาตลอดจึงตรวจร่างกายมีความตึงตัวขณะทำการเคลื่อนไหวของคอ
และ เมื่อทำ cervical distraction ผู้ป่วยมีอาการปวดนิ้วโป้งด้านซ้ายเพิ่มขึ้น
จึงคิดว่าปัญหาของผู้ป่วยไม่ได้มีเพียงแค่เส้นประสาทส่วนปลาย(median nerve)โดนกดทับเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีปัญหา
เกี่ยวกับแกนกลางที่มีปัญหา

ซึ่งจากประวัติและการตรวจร่างกายพบว่าผู้ป่วยมี Cx disc herniation บริเวณc4/5 c5/6 ร่วมด้วย
ในการรักษาจึงทำรักษาโดยการลด interface ของ nerve pathway ทั้งหมด
ตั้งแต่ระดับคอจนถึงบริเวณข้อมือ หลังจากรักษาอาการชาและเจ็บของผู้ป่วยเบาลง แต่ยังคงเหลืออยู่ และชาบริเวณปลายนิ้ว

จึงได้ตรวจร่างกายเพิ่มเติมปรากฎว่า ผู้ป่วยมีobstruction ของ lymphatic system
และ จากการทำ slump test พบว่ามีผลทำให้อาการของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไป

จึงคาดว่าความตึงตัวของเยื่อหุ้มเส้นประสาทส่วนอื่นก็ส่งผลต่ออาการผู้ป่วยเช่นกัน
ซึ่งจากการทำ genneral listening ร่วมกับการทำ SLR พบความตึงตัวบริเวณ upper chest diaphragm
และ pelvic floor จึงทำการ release tension บริเวณดังกล่าว
ร่วมกับการทำ lymphatic drainage
หลังทำอาการของผู้ป่วยดีขึ้น อาการชาเหลือเพียงเล็กน้อย ใน visit แรก

visit ที่2 เมื่อผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตประจำวันส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกลับมาแต่มีความรู้สึกปวดน้อยกว่าเดิมชาจางลง
ได้ทำการรักษาแบบเดิม แต่ได้เพิ่มเติมการทำ motor relearning
ของกล้ามเนื้อ thenar muscle โดยเริ่มจากการทำpassive movement และ สอนการออกกำลังกายแบบ DNS

visit ที่3 ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่มีอาการชาบริเวณนิ้วมือแล้ว กล้ามเนื้อthenar muscle ที่ฝ่อลีบไปโตขึ้น
สามารถใช้นิ้วโป้งได้ดีขึ้น แต่ยังรู้สึกปวดที่ข้อนิ้วโป้ง ตอนใช้งานหยิบของที่ต้องกำมือแน่น

visit ที่4 ผู้ป่วยไม่มีอาการชานิ้วมือ และปวดนิ้วโป้งแล้ว กระดกนิ้วโป้งได้ดีขึ้น กล้ามเนื้อ thenar muscle โตขึ้นจากเดิม เคลื่อนไหวนิ้วโป้งได้ดีขึ้น