Pathology
เเขนท่อนล่างประกอบด้วยกระดูกสองชิ้น คือ กระดูก radius เเละ ulna ซึ่งการเคลื่อนไหวหลักของมันคือ การหมุน หรือการคว่ำหงายเเขน โดยกระดูก radius จะหมุนรอบกระดูก ulna ดังนั้นเมื่อมีการหักของกระดูกเเขนจึงมีผลต่อการคว่ำหงายเเขนรวมถึงการเคลื่อนไหวศอกเเละข้อมือ ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวด บวม และการผิดรูปที่ค่อนข้างชัดเจนของเเขนท่อนล่าง ร่วมกับ X-ray พบการหักของกระดูก radius และ ulna บางรายอาจพบอาการชา อาการอ่อนเเรงของกล้ามเนื้อ ร่วมด้วย เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อเส้นเลือดเเละเส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียง
สาเหตุทั่วไปเกิดจาก
- มีเเรงมากระเเทก ปะทะโดยตรง
- ล้มในลักษณะที่เเขนเหยียดออก มักเกิดจากขณะเล่นกีฬาหรือล้มจากที่สูง
- อุบัติเหตุทางรถยนต์
รูปเเบบของการหักมีหลายเเบบ อาจจะเกิดการเลื่อนเพียงเล็กน้อยหรือจนกระทั่งอาจเกิดการหักเป็นชิ้นหลายชิ้น ซึ่งกระดูกที่หักเป็นชิ้นนั้นอาจอยู่ในเเนวตรงหรือเลื่อนหลุดจากที่ไป ในเด็กอาจพบลักษณะ incomplete fracture ( green-stick ) หรือ plastic deformation เนื่องจากเยื่อหุ้มกระดูก (periosteum) หนา
การหักเเบ่งออกเป็นสองเเบบใหญ่ คือ
- Open fracture กระดูกที่หักจะเเทงทะลุออกมานอกผิวหนัง เป็นเเผลเปิด
- Close fracture กระดูกที่หักจะอยู่ภายในผิวหนัง
Treatment
ในเด็ก สามารถรักษาด้วยการใส่เผือก โดยจะใส่เฝือกประมาณ 6-8 สัปดาห์ และควรนัดมาตรวจ X-ray ในช่วง1-2 สัปดาห์ แรก เพื่อประเมิน alignment หลังจากลดบวมหรือเฝือกหลวมๆ กรณี alignment ไม่ดีมีการเคลื่อนภายหลังควรรักษาด้ยการผ่าตัด (intramedullary rod, plate, K-wire)
ในผู้ใหญ่ non-displaced fracture both bones forearm อาจทำการรักษาด้วยการใส่เฝือก long arm cast นานประมาณ 8-12 สัปดาห์ และมีโอกาสเคลื่อนได้ ในกรณีที่มีการเคลื่อน ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด (plate & screw) เนื่องจากเป็น unstable fracture
ภาวะเร่งด่วนที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉินทันทีคือ compartment syndrome และ opened both bones fracture
การรักษาทางกายภาพบำบัด
- postoperative care
- early ROM ถ้าไม่มีปัญหาหรือการบาดเจ็บที่ proximal หรือ distal joint
- period of non-weight bearing
Exercise
gentle exercises to increase range of motion
return to work and sports activities
https://orthoinfo.aaos.org/en/diseases--conditions/adult-forearm-fractures/
https://www.orthobullets.com/trauma/1025/radius-and-ulnar-shaft-fractures