ปวดข้อมือ ชานิ้วมือทำอย่างไร: กลุ่มอาการเส้นประสาทถูกกดทับที่ข้อมือ (CARPAL TUNNEL SYNDROME)

carpal tunnal
ภาพที่1 กายวิภาคศาสตร์ของข้อมือ
ที่มา: Clemente Anatomy

กลุ่มอาการเส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal tunnel syndrome) คือ กลุ่มที่มีอาการปวดข้อมือหรือชานิ้วมือ ที่เกิดจากเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกที่บริเวณข้อมือ

ถูกกดทับหรือบีบรัดจากเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณที่เส้น มีชื่อว่า เส้นประสาทมีเดียน (Median nerve) ที่อยู่

ข้อมือของเราประกอบไปด้วย กระดูกข้อมือ เอ็นของกล้ามเนื้อข้อมือ เอ็นเฟล็กเซอร์เรตินาคิวลุม (flexer ratinaculum)

ที่มีหน้าที่เป็นเข็มขัดรัดให้เส้นเลือด เส้นประสาท ลอยตัวออกจากข้อมือ

องค์ประกอบเหล่านี้เป็นเนื้อเยื้อที่อยู่บริเวณข้อมือ มีลักษณะเปรียบเทียบได้กับอุโมงค์กับรถไฟ ซึ่งหากอุโมงค์ซึ่งก็คือเอ็นข้อมือแคบ รถไฟซึ่งก็คือเส้นเลือด

เส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือ ก็จะไม่สามารถขยับได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายเมื่อมีการใช้งาน

หรือตามหลักความสัมพันธ์แรงดันและปริมาตรนั้นพบว่า เมื่อปริมาตรซึ่งก้คือความกว้างของอุโมงค์ลดลง ความดันภายใน ย่อมเพิ่มขึ้น

ซึ่งก็หมายความว่า เมื่ออุโมงค์ของรถไฟที่แคบลง ย่อมทำให้เกิดแรงดันภายในซึ่งกดทับเนื้อเยื่อของเรามากขึ้น

อาหารของเส้นประสาท ซึ่งก็คือ เลือด ย่อมไม่สามารถที่จะเข้าไปหล่อเลี้ยงเส้นประสาทได้ เนื่องจากแรงดันภายในที่มากเกินไป

ทำให้เกิดการตายของเซลล์ของเนื้อเยื่อ เกิดการอักเสบเกิดขึ้นยังผลให้การทำงานของเส้นประสาทลดลงด้วยเช่นกัน

ในทางกลับกัน ถ้ารถไฟซึ่งก็คือเส้นประสาทเส้นเลือดบวม จนอ้วนขึ้นก็ยังผลเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจพบได้ในกรณีหญิงตั้งครรภ์

อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. การใช้งานที่มากเกินไปของบริเวณข้อมือ การเคลื่อนไหวข้อมือซ้ำๆไปมาเป็นเวลานาน เช่น บิดผ้าที่มีความแข็งมากซ้ำๆ แม่ค้าที่ต้องตักอาหารบ่อยๆ
2. ข้อมือถูกกดทับเป็นเวลานาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งปัจจุบันพบบ่อยมากขึ้นเนื่องจากมีการใช้เมาท์หรือคีบอร์ด เป็นเวลานาน ทำให้เกิดแรงกดดันภาย

ในเนื้อเยื่อซ้ำๆ เมื่อเป็นระยะเวลานานเข้าก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บภายในมากยิ่งขึ้นจนแสดงอาการ ออกมาในที่สุด
3. หญิงมีครรภ์ ระหว่างการตังค์เนื่อเยื่อของหญิงมีครรภ์จะบวมน้ำ ในบางคนจะทำให้เกิดกลุ่มอาการเหล่านี้ได้
4. จากการที่เส้นประสาทภายในมีพยาธิสภาพอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีอาการซึ่งอาจเกิดจากกระดูกคอเสื่อม หรืออักเสบจนมีการระคายเคืองของเส้นประสาท ทำให้เส้นปรสาทมีการตึงตัวอยู่แล้ว และเมื่อมีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้มีการบาดเจ็บของ เส้นประสาทได้

อาการและอาการแสดง
อาการ เริ่มต้นอาจมีอาการตึงที่บริเวณข้อมือหรือบริเวณปลายนิ้ว โป้ง ชี้ กลาง นางครึ่งนิ้ว จากนั้นจะเริ่มมีอาการชาที่บริเวณปลายนิ้วดังกล่าว หากทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจเริ่มมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในฝ่ามือ จนเห็นกล้ามเนื้อที่บริเวณโป้งลีบ

วิธีการรักษา
1.การรักษาทางยา การรักษาทางยาเป็นการรักษาอาการเริ่มต้น โดยยาจะไปลดการอักเสบและการบวมของเนื้อเยื่อ ทำให้อาการลดลงหรืออาการหายไป สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาของเส้นประสาทที่มีการตึงตัวหรือการระคายเคือง ของเส้นประสาทจากบริเวณอื่น
2.การรักษาโดยการฉีดยา ซึ่งได้แก่ กลุ่มยาประเภทเสตียรอยด์ ซึ่งมีผลในการลดการอักเสบของเนื้อเยื่อเฉียบพลัน

ทำให้ความเสียหายของเนื้อเยื่ออันจะเกิดจากการบวมลดลง แต่การใช้ยาประเภทนี้ย่อมมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา

ซึ่งยาจะลดการซ่อมแซมของเนื้อเยื้อด้วยดังนั้นหลังจากที่มีการฉีดยาแล้ว ต้องมาการดูแลบริเวณนั้นให้ดีเป็นระยะเวลาหนึ่ง

เช่น การงดการใช้งานถึงแม้ไม่มีอาการแล้ว วิธีการนี้แพทย์จะใช้ดุลพินิจเป็นอย่างดีและไม่ฉีดซ้ำจนมากเกินไปแก่ผู้ป่วย

จนกว่าการรักษาทางยาจะไม่ได้ผลเนื่องจากมีผลข้างเคียงที่ทำให้เนื้อเยื่อที่ มีการฉีดความแข็งแรงจะลดลง
3. การรักษาด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัด จะเป็นการรักษาตามพยาธิสภาพที่ตรวจพบด้วยวิธีการต่างๆ เช่น

การประคบร้อน- เย็น เมื่อตรวจพบความตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นอันเป็นเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
การใช้คลื่นใต้เสียงในการรักษา (ultrasound for treatment) โดยคลื่นเสียงจะเข้าไปช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อให้รวดเร็ว
และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ความสมบูรณ์ของเนื้อเยื่อนั้นมีความสำคัญมากโดยจะทำให้เนื้อเยื่อนั้นๆ

ได้รับการซ่อมแซมและรักษาให้ปกติหรือเข้าใกล้ปกติมากที่สุด โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ต้องมีนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ใช้

จะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใดๆ แก่ผู้ป่วยเนื่องจากคลื่นใต้เสียงเป็นคลื่นกล ที่ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับคลื่นเสียง คลื่นน้ำ

โดยจะไม่ทำให้เกิดการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด

การรักษาด้วยมือ เช่น การจัด(mobilization) การดัด(manipulation) ข้อต่อ การนวด(massage) ซึ่งการรักษาด้วยวิธีการนี้ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและชำนาญของนักกกายภาพ บำบัดเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การตรวจร่างกายหาพยาธิสภาพและการวินิจฉัยที่ถูกต้องของนักกายภาพ บำบัดนั้นยังเป็นส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยเหล่านี้อีกด้วย
การออกกำลังที่เฉพาะเจาะจงกับกลุ่มอาการและปัญหาของผู้ป่วย (specific exercise) ซึ่งจะได้รับการออกแบบโดยนักกายภาพบำบัด ซึ่งได้มาจากการตรวจร่างกายที่ถูกต้อง เนื่องจากเมื่อมีการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเหล่านี้ย่อมทำให้เนื้อเยื่ออ่อนแอ ลง เราต้องทำการฟื้นสภาพเนื้อเยื่อให้แข็งแรงดังเดิม หรือให้เทียบเท่ากับการใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ซ้ำซ้อนขึ้นอีก
การให้ความรู้ความเข้าใจ แก่ผู้ป่วยถึงสาเหตุของโรค และพยาธิสภาพที่ตรวจพบ และเข้าใจถึงธรรมชาติของร่างกายและเนื้อเยื่อนั้นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญมาก หากผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของโรคแล้วจะสามารถดูแลตัวเองในการ บาดเจ็บเบื้องต้น ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บที่ซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดี
การปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดการกดทับของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โดยการใช้อุปกรณ์นุ่มๆมารองรับบริเวณที่มีการสัมผัสกับโต๊ะ นอกจากนี้ยังมีการปรับสภาพแวดล้อมอื่นๆอีกที่มีผลกับคอ หลัง บ่า ซึ่งมีผลทำให้เกิดเส้นประสาทตึงซึ่งอาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของโรคนี้อีกด้วย

4. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด เป็นวิธีการสุดท้ายเมื่อวิธี การรักษาอื่นๆไม่ได้ผลหรือเมื่อผู้ป่วยมีปัญหามากแล้ว ซึ่งก็ได้แก่การที่ผู้ป่วยสูญเสียความรู้สึกที่ปลายนิ้วมือและกล้ามเนื้อมือ ฝ่อลีบมากแล้ว

กภ.อารีย์ วิทยสุนทร

นักกายภาพบำบัด