Ankle sprain ข้อเท้าแพลง

pathology

เกิดจากมีการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไปจึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น มีอาการปวดและบวมตามมา หากรุนแรงมากอาจส่งผลให้เอ็นขาด สูญเสียความมั่นคงของข้อต่อ

อาการและอาการแสดง

การแบ่งความรุนแรงของข้อเท้าพลิก (Grading of ankle sprain) เพื่อใช้ในการพิจารณาระยะเวลาของการ รักษา และการพยากรณ์โรค

  1. Grade I: มีการยืดบางส่วนของเส้นเอ็นข้อเท้าด้านข้างนอก ผู้ป่วยจะมีอาการบวมบริเวณข้อเท้าด้านนอก ตรวจพบจุดกดเจ็บบริเวณเส้นเอ็น ไม่พบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซเรย์ (stress film)
  2. Grade II: เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอกจะมีการฉีกขาดบางส่วน ผู้ป่วยจะมีอาการปวด บวมที่ข้อเท้า มีจุดกด เจ็บท่ีบริเวณเส้นเอ็น ในบางรายตรวจพบรอยห้อเลือด (ecchymosis) อาการปวดมากทําใหพิสัยการเคลื่อนไหวข้อเท้า ลดลง ผู้ป่วยสามารถเดินลงน้ําหนักได้แต่มักมีอาการปวดมาก อาจจะพบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซ์เรย์ (stress film)
  3. Grade III: เส้นเอ็นข้อเท้าด้านนอกมีการฉีกขาดทั้งเส้น ผู้ป่วยมีอาการปวด บวมมาก มีจุดกดเจ็บ และ อาจจะมีรอยหอเลือด ผู้ปวยไม่สามารถเดินลงน้ําหนักได้ อาจจะพบลักษณะไม่มั่นคงในเอ็กซเรยปกติ (plain radiographs)

การรักษา

ทางกายภาพบำบัด

ระยะอักเสบ
พักการใช้ข้อเท้า เลี่ยงการยืนเดินนาน งดสวมรองเท้าส้นสูง

  1. ใส่สนับข้อหรือพันผ้าเทปเพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวในกรณีที่จำเป็นต้องใช้งาน
  2. ใช้ผ้ายืดพันรอบตั้งแต่โคนนิ้วเท้าจนถึงกลางหน้าแข้งโดยพันแน่นบริเวณส่วนปลายเพื่อลดบวม
  3. วางแผ่นเย็นหรือถุงน้ำผสมน้ำแข็งลงบนข้อเท้า 15-20 นาที 3-5 ครั้งต่อวันเพื่อลดการอักเสบโดยอาจใช้ร่วมกับผ้ายืดได้
  4. นอนยกข้อเท้าให้สูง โดยอาจนำหมอนมาหนุนเพื่อลดบวม
  5. หากอาการเจ็บปวด บวม เลือดคั่งมีมากหรือไม่ลดลงควรไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด