Carpal tunnel syndrome โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

Pathology

ภาวะที่ช่อง carpal tunnel นั้นตีบแคบลงจึงทำให้เกิดการกดทับเส้นประสาท median ได้

สาเหตุ

  • มีภาวะบวมบริเวณข้อมือ เกิดได้จาก อุบัติเหตุบริเวณข้อมือ, การอักเสบจากเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ, การตั้งครรภ์, ภาวะเบาหวาน, โรคไต
  • ganglion cysts หรือ ก้อนถุงน้ำ มักพบบริเวณข้อมือซึ่งไปรบกวนเส้นประสาทได้
  • ในคนที่กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาทจะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคเส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับได้มากขึ้น เนื่องจากการลำเลียงสารอาหารที่จะลงไปสู่เส้นประสาทส่วนปลายลดลงทำให้เส้นประสาทบริเวณข้อมือทนการกดทับได้น้อยลง
  • การใช้งานที่ข้อมือซ้ำๆหรือการใช้นิ้วหนีบจับอะไรนานๆ(รวมแล้วมากกว่า3ชั่วโมงต่อวัน) เช่น แคชเชียร์, การทำความสะอาดบ้าน (ซักผ้าด้วยมือ, กวาดบ้าน) ,งานช่างไม้ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อด้านหน้าแขนมีแรงตึงสูงขึ้นส่งผลให้ปลอกเยื้อหุ้มข้อมือด้านหน้าตึงมากขึ้นและกดทับเส้นประสาทได้
  • การใช้คอมพิวเตอร์/โทรศัพท์มือถือ เป็นเวลานาน
  • ท่านั่ง การนั่งที่ไม่เหมาะสมหรือการนั่งเป็นเวลานานจะส่งเสริมความตึงของเส้นประสาทส่วนกลางส่งผลให้การลำเลียงของสารอาหารไปยังปลายประสาทส่วนปลายลดลงและทำให้เส้นประสาทส่วนปลายทนต่อแรงกดทับได้น้อยลงจึงถูกกดทับได้มากขึ้น
  • เก้าอี้ที่นั่งเตี้ยเกินไปเมื่อเทียบกับความสูงของโต๊ะทำให้ต้องงอข้อมือมากขึ้นเพื่อทำงาน
  • ระยะห่างระหว่างของเมาส์/คีย์บอร์ด/จอคอมพิวเตอร์ ต่อที่นั่ง ไม่เหมาะสม ทำให้บริเวณข้อมือถูกกดทับได้มากขึ้น
  • ergonomic รูปแบบของเมาส์ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน
  • ต้องถือโทรศัพท์/taplet เป็นเวลานาน ทำให้แรเกร็งของมือและแขนมากขึ้นซึ่งส่งผลต่อความตึงของปลอกเยื้อหุ้มข้อมือได้

อาการ

รู้สึกชาฝ่ามือบริเวณนิ้วโป้ง, นิ้วชี้, นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว จะรู้สึกมากขึ้นตอนช่วงแรกของการนอน และเมื่อทำกิจกรรมที่งอหรือเหยียดข้อมือชัดเจน อาการจะดีขึ้นเมื่อไก้สะบัดมือ

https://theclimbingdoctor.com/wp-content/uploads/2016/06/Carpal-Tunnel-Syndrome-Rehabilitation-Program-Climbing-2.jpg

Treatment

ระยะอักเสบ
ลดการอักเสบ :
-ประคบเย็น 10-15 นาที
-หยุด/หลีกเลี่ยงการใช้งานมือซํ้าๆ
- ใส่ splints จัดให้ข้อมืออยู่ใน neutral position เพื่อลดแรงดันในข้อมือ

ระยะเรื้อรัง :
-การใช้ความร้อนใช้ได้ แต่ให้หลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่มีอาการชาตลอดเวลา
-ultrasound เพื่อลดความตึงของปลอกหุ้มข้อมือ
-การนวดบริเวณข้อมือเพื่อลดแรงตึงของปลอกเยื้อหุ้มข้อมือ