ข้อเข่าเสื่อม

oa.knee
โรคข้อเข่าเสื่อม
ที่มา: Netter Anatomy

 รู้ทัน…ข้อเข่าเสื่อม ปวดเข่า

ผ่าตัดเข่าแล้วทำอย่างไร

เป็นกลุ่มอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของเยื้อหุ้มข้อเข่า เอ็น กล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ในการพยุงข้อเข่า

ซึ่งเกิดจากสมดุลของข้อเข่าที่เสียไป อันเนื่องจากเกิดการเสื่อมของกระดูกอ่อนในข้อเข่า

ซึ่งมีหน้าที่ช่วยลดแรงกระแทกต่อข้อเข่า และลดความเสียดทานระหว่างผิวข้อ

ทำให้สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้สะดวก โดยไม่เกิดการบาดเจ็บของข้อเข่า

อาการและอาการแสดงของข้อเข่าเสื่อม

1. มีอาการปวด ตึง ขณะทำกิจกรรม เช่น ขึ้น-ลงบันได นั่งยองๆ เดินนาน

 

2. ฝืดขัดข้อเข่า เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ขยับสักพักจะรู้สึกดีขึ้น

 

3. มีอาการปวดบวมบริเวณรอบๆ ข้อเข่า

 

4. ข้อเข่ามีเสียงขณะเกิดการเคลื่อนไหว

 

5. งอข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ นั่งยองๆลำบาก และเริ่มมีอาการปวดเข่าในตอนกลางคืน

 

6. เมื่อเป็นมานานจนมีอาการมากแล้ว ข้อเข่าจะมีการผิดรูป เช่นข้อเข่าโก่ง

  

คุณมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมหรือไม่?

ปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความเสื่อมของข้อเข่า

ภาพที่1 แสดงภาพ x-ray ลักษณะของข้อเข่าที่เสื่อม
ภาพที่1 แสดงภาพ x-ray ลักษณะของข้อเข่าที่เสื่อม

 

1. น้ำหนักตัว ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวที่มากอยู่ตลอดเวลา

2. อายุ 60 ปีขึ้นไป ผิวข้อกระดูกอ่อนของข้อเข่าจะถูกทำลายมากกว่าการสร้างขึ้นใหม่จึงทำให้เริ่มทำให้เกิดความเสื่อมของกระดูกอ่อน

3. พฤติกรรมการใช้งานที่มากเกินไป เช่น การขึ้นลงบันไดมากๆ การนั่งยองๆ

4. ขาด การออกกำลังกายที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า เพื่อช่วยลดแรงกระแทกข้อเข่าและเสริมสร้างให้ข้อเข่าแข็งแรง

5. เกิดอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บที่ข้อเข่า โดยไม่ไดัรับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง

 

 

โรคข้อเข่าเสื่อมดูแลรักษาได้ไม่ยาก….

 

1. การดูแลตนเอง

– ปรับพฤติกรรมที่ก่ออาการบาดเจ็บแก่ข้อเข่า นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ ขึ้น-ลงบันได ยกของ

– หนักลดน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

– ออกกำลังกายให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อเข่า ให้แข็งแรง เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหวของข้อได้ดีขึ้น และ

สามารถทรงตัวได้ดีเวลายืนหรือเดิน

– เวลาเข้าห้องน้ำ ควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ

– นอนบนเตียง ไม่ควรนอนราบบนพื้นเพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น

– หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่ง ในท่าเดียวนานๆ ถ้าจำเป็นแก้ไขขยับเปลี่ยนท่าหรือขยับเหยียด-งอข้อเข่า เป็นช่วงๆ

– การยืน ควรยืนตรงให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน

– การเดินควรเดินบนพื้นราบใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือแบบที่ไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควรและมีขนาดที่พอ

เหมาะ เวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกว่ากระชับพอดี ไม่หลวมหรือคับเกินไป

– ควรใช้ไม้เท้า เมื่อยืนหรือเดิน

2. การรักษาทางยา

– ใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ แต่ในกรณีที่ข้อต่อบวมและปวดมาก ใช้การฉีดยาสเตียรอยด์ได้

– ฉีดยา Hyaluronate เข้าข้อต่อ

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ในกรณีที่ข้อต่อมีการทำลายผิวกระดูกอ่อนอย่างมาก

4. การรักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวด ลดพังผืดของเยื่อหุ้มข้อ และออกกำลังกายเฉพาะส่วนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยรอบข้อเข่า

 

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

แพทย์ จะผ่าตัดผิวข้อในเฉพาะส่วนที่เสื่อมสภาพออก และทำให้กระดูกที่เหลือมีรูปร่างรับกับผิวข้อเทียมที่จะใส่เข้าไป แล้วสวมข้อเทียมครอบลงไป  เพื่อทดแทนผิวกระดูกอ่อนภายในข้อเข่าที่เสียไป ทำให้อาการปวดของเข่าหายไป สามารถลงน้ำหนักได้โดยไม่ปวด เข่าที่เคยโก่งจะกลับมาตรงทำให้ความยาวของขา 2 ข้างเท่ากัน ไม่เดินกระเผลก และการเคลื่อนไหวของข้อเข่าจะงอ-เหยียดได้มากขึ้น

ผู้ป่วยควรทำการผ่าตัดข้อเข่าเทียม เมื่อ…

1. มีอาการปวดค่อนข้างมาก จนไม่สามารถทำงานปกติในชีวิตประจำวันได้ เช่น เดินได้ไม่ไกล , ขึ้น- ลงบันไดลำบาก, การลุกหรือนั่งจาก

เก้าอี้ทำได้ลำบาก ,ในการเดินจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง

2.มีอาการปวดตลอดเวลาแม้แต่ขณะพัก หรือมีอาการปวดทั้งกลางวันและกลางคืน

3.มีอาการปวดและบวมเรื้อรังที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา

4.มีอาการผิดรูปของข้อเข่า เช่น โกง หรือ คด

5.มีการติดข้อเข่างอ-เหยียดได้ไม่สุด

6.ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยการใช้ยาระงับอาการปวดและการอักเสบหรือมีผลข้างเคียงากการใช้ยา ทำให้ไม่สามารถใช้ยาต่อไปได้

7.ไม่ตอบสนองต่อการรักษาเบื้องต้น เช่น การฉีดยาเข้าข้อเข่า หรือ การผ่าตัดบางประเภท

 

ข้อจำกัดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1. อายุ การใช้งานของข้อเข่าเทียม เพราะข้ออาจหลวม ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องมีการกระโดด กระแทก หรือกิจกรรมที่ต้องใช้งานเข่ามากๆ

2. ข้อจำกัดในท่านั่งพับเพียบ หรือนั่งคุกเข่าไหว้พระ

3. ควรลดน้ำหนักตัวที่มากเกินไป โดยควบคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับข้อเข่าเทียม เช่น การว่ายน้ำ การเดินบริหารร่างกายในน้ำ

การฟื้นฟูสมรรถภาพภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

1. ระยะแรก ( 5-7 วัน หลังผ่าตัด ) เน้นการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ลดการอักเสบและการบวมของข้อเข่า (โดยประคบความเย็นพร้อมกับพันผ้ายืดรัด

แนบ ประมาณ 15-20 นาที ซ้ำทุก 3 ชั่วโมง) สามารถทำกิจวัตรด้วยตนเองได้

2. ระยะที่ 2 (1-8 สัปดาห์ หลังผ่าตัด) เน้นเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเข่า และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่าและขา ให้สามารถเดินโดย ไม่ต้องอาศัยเครื่องช่วยพยุง

3. ระยะที่3 ( 8 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน หลังผ่าตัด) เพิ่มสมรรถภาพร่างกายให้สามารถกลับไปปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ

 

ท่าการออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

Exif_JPEG_PICTURE
ท่าที่1 กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง
www.pkptclinic.com

ท่าที่1 กระดกข้อเท้าขึ้น-ลง

ท่าเริ่มต้น นอนหงาย ขาข้างผ่าตัดเหยียดตรงและใช้หมอนรองยกปลายเท้าให้สูงขึ้น

 

วิธีทำ กระดกข้อเท้าขึ้น – ลง

 

จำนวน ปฏิบัติติดต่อกัน ประมาณ 3-5 นาที วันละ 3 ครั้ง

 

 

 ท่าที่2 เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าต้นขา

ท่าเริ่มต้น นอนหงาย ขาข้างผ่าตัดเหยียดตรงและใช้ผ้าม้วนกลมรองใต้ข้อเข่า

วิธีทำ กดเข่าลงชิดพื้น พร้อมเกร็งกล้ามเนื้อเข่า ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย

Exif_JPEG_PICTURE
ท่าที่2 เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณด้านหน้าต้นขา

จำนวน ปฏิบัติ 10 ครั้ง/เซต วันละ 3 ครั้ง

 

ท่าที่3 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา

 

ท่าเริ่มต้น นอนหงาย ใช้หมอนสามเหลี่ยมรองใต้เข่า

 

วิธีทำ เหยียดเข่าตรง พร้อมยกส้นเท้าขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย

 

จำนวน ปฏิบัติ 10 ครั้ง/เซต วันละ 3 ครั้ง

 

ท่าที่4 ออกกำลังกายเพิ่มมุมการงอของข้อเข่า

 

ท่าเริ่มต้น นอนคว่ำ ขาข้างผ่าตัดเหยียดตรง

 

วิธีทำ งอเข่าข้างที่ผ่าตัดเข้าหาตัว ค้างไว้ นับ 1-10 แล้วปล่อย

 

จำนวน ปฏิบัติ 10 ครั้ง/เซต วันละ 3 ครั้ง

 

ท่าที่5 ออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหยียดต้นขา

 

ท่าเริ่มต้น ท่านั่งห้อยขา งอเข่าให้ตั้งฉากกับพื้น

 

วิธีทำ ใช้ ขาข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดเกี่ยวบริเวณข้อเท้าของขาข้างที่ผ่าตัด เพื่อช่วยพยุงในการยกขาข้างที่ผ่าขึ้น ให้เข่าเหยียดตรง ค้างไว้ นับ 1-10 แล้ว

 

ปล่อย จำนวน ปฏิบัติ 10 ครั้ง/เซต วันละ 3 ครั้ง

 

* ถ้ากำลังกล้ามเนื้อขาเพิ่มมากขึ้น สามารถยกขาขึ้นได้เอง โดยไม่ต้องใช้ขาอีกข้างช่วยพยุง

 

ท่าที่6 ออกกำลังกายเพิ่มมุมการงอของข้อเข่า ในท่ายืน

ท่าเริ่มต้น ยืน มือทั้ง 2 ข้าง จับเครื่องช่วยพยุง

วิธีทำ งอเข่าข้างที่ผ่าตัดเข้าหาตัว ค้างไว้ นับ 1-10 แล้ววางลง

จำนวน ปฏิบัติ 10 ครั้ง/เซต วันละ 3 ครั้ง

 

ขอขอบคุณเนื้อหาดีๆจากหนังสือ…การออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

โดย อ. คมปกรณ์ ลิมป์สุทธิรัชต์ และคุณสุภาพร เลิศร่วมพัฒนา

กภ.ทาตยา รัชตาธิวัฒน์

นักกายภาพบำบัด