การรักษา

ขั้นตอนการเข้ารับการรักษา

  1. โทรศัพท์นัดหมายวันเวลา เพื่อความสะดวกรวเร็วของผู้เข้ารับบริการ

    อ่านx-ray
    www.pkptclinic.com
  2. ลงทะเบียนใหม่ในวันเวลาที่เข้ารับการรักษา
  3. รอเข้ารับการรักษา
  4. นักกายภาพบำบัดซักประวัติ อาการ สาเหตุ อย่างละเอียด เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญในการตั้งสมมุติฐานของอาการ (หากท่านมีฟิมล์ x-ray ให้นำมาเพื่อประกอบการวินิจฉัย)
  5. นักกายภาพบำบัดตรวจร่างกายทางกายภาพอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบสมมุติฐานของปัญหา
  6. สรุปปัญหา วินิจฉัยโรค พร้อมทั้งวางแผนการรักษาพร้อมกับผู้เข้ารับบริการ
  7. ดำเนินการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพ โดยใช้หัตถการบำบัด (Manual therapy technique) ความร้อน-เย็น คลื่นความร้อน คลื่นเสียง เครื่องดึงคอ-ดึงหลัง  การออกกำลังกาย และการปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน ตามความเหมาะสมและการวินิจฉัยโรค
  8. ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวินิจฉัย คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำซ้อน และดูแลตนเองเพื่อให้การรักษาได้ผลยิ่งขึ้น
  9. ทำการนัดครั้งต่อไป

 

วิธีการรักษา

ปัจจุบันกระบวนการการรักษาและองค์ความรู้ของโรคทางกระดูก ข้อ เส้นประสาท ทางกายภาพบำบัด  มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมากมายโดยเฉพาะอย่าง 10-15 ปี ให้หลัง  พีเคคลินิกเล็งเห็นคุณค่าของการปรับปรุง เรียนรู้วิธีการรักษา เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาและได้รับทุกข์จากโรคทางกระดูก ข้อและเส้นประสาทให้มากที่สุด เราจึงมีการเรียนรู้และถ่ายทอดภายในองค์กรตลอดเวลาเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ที่สุดในการรักษา และการรักษาผู้ป่วยอย่างเป็นองค์รวม  และสืบเนื่องจากอาการเจ็บป่วยในปัจจุบันในหลายๆ คน เราพบว่ามีความซับซ้อนของโรคมากขึ้น  ทำให้ยากต่อการรักษาในบางครั้งการรักษาที่เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปอาจจะช่วยผู้ป่วยได้น้อยหรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย

ดังนั้นการวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยแบบองค์รวมครอบคลุม และถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญในการจะช่วยให้การรักษาได้ผลดี พีเคคลินิกจึงมุ่งเน้นพัฒนาการวิเคราะห์ปัญหาและการรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างไม่หยุดยั้ง

Manual Therapy Technique 

จากประสบการณ์การทำงานมากว่า 10 ปี ทำให้เราพบว่าเทคนิกการรักษาโดยการใช้มือมีความสำคัญและสามารถแก้ไขปัญหาผู้ป่วย ณ เวลานั้นๆได้ 50-70 % เลยที่เดียว  พีเคคลินิกกายภาพบำบัดจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญ ทำการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเทคนิกการรักษาด้วยมืออย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ จนมีความชำนาญและยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากความเจ็บป่วย

ซึ่งปัจจุบันเทคนิกการรักษาด้วยมือมีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งเราต้องเลือกใช้แก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยคนนั้นๆ และมีการวิเคราะห์ผลของการรักษาอย่างต่อเนื่อง อันได้แก่

  • Mulligan’s technique

เป็นเทคนิคที่คิดค้นโดย Brian R. Mulligan เทคนิคนี้สามารถเพิ่มการเคลื่อนไหว และลดอาการปวดขณะเคลื่อนไหว เป็นเทคนิคที่ทำได้รวดเร็วและไม่เจ็บปวดขณะรักษา สามารถลดความเจ็บปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหวได้ทันที ตัวอย่างอาการที่สามารถใช้เทคนิคนี้ในการรักษา ได้แก่ อาการปวดหัว มึนงง เนื่องจากปัญหาที่คอ ข้อเท้าแพลง อาการปวดเนื่องจากการบาดเจ็บ Tennis elbow หรืออาการปวดบริเวณข้อศอก ข้อติดจากอาการข้ออักเสบ เป็นต้น

ที่มา: http://www.bmulligan.com/

mulligan

  • Strain-counterstrain technique

Strain and counterstrain คิดค้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1960 โดย Lawrence Jones, D.O. เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อคลายกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อที่ตึง โดยอาศัยการจัดท่า เพื่อให้เนื้อเยื่อผ่อนคลาย จะทำให้ลดปวดและลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อลงได้ และสามารถเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เบาๆ แต่มีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดขณะรักษา

ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Strain_and_counterstrain

scs

  • Advanced strain-counterstrain

เป็นเทคนิคที่พัฒนาจากเทคนิค strain and counterstrain โดย Sharon Weiselfish-Giammatteo ในปี 1990 เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่อาศัยการจัดท่าเพื่อคลายหลอดเลือด และอวัยวะภายใน การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ หรือเนื้อเยื่อต่างๆ บางครั้งอาจเป็นผลมาจากการบาดเจ็บของหลอดเลือด หรืออวัยวะภายใน ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งขึ้น เนื้อเยื่อต่างๆหดรั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บมากขึ้น การคลายหลอดเลือด และอวัยวะภายในจะทำให้เลือดมาเลี้ยงส่วนที่บาดเจ็บได้มากขึ้น มีการซ่อมแซมเร็วขึ้น กล้ามเนื้อที่เกร็ง หรือเนื้อเยื่อต่างๆที่ยึดรั้งก็จะคลายลงด้วย

ที่มา: http://lissawheeler.com/AdvancedStrainCounterstrain.pdf

adscs

  • Lymphatic Drainage Therapy (LDT)

เทคนิคการระบายน้ำเหลือง เป็นการนวดเบาๆ ในทิศทางจำเพาะ จะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำเหลืองดีขึ้น ลดการบวม ซึ่งระบบน้ำเหลืองนี้ เป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการระบายของเสียต่างๆ การอุดกั้นของน้ำเหลือง จะมีผลทำให้เกิดการบวม และทำให้การซ่อมแซมของร่างกายช้าลง ซึ่งภาวะนี้อาจจะมีสาเหตุมาจาก โรคหัวใจ การใส่เสื้อผ้าที่คับแน่นเกินไป หรือการบาดเจ็บ เช่น เส้นเอ็นฉีกขาด หรือการหักของกระดูก บางคร้งเกิดได้จากการทำเคมีบำบัด เช่น การผ่าตัดมะเร็งเต้านม

ที่มา: http://www.wisegeekhealth.com/what-is-lymphatic-drainage.htm

ldt

  • Visceral Manipulation (VM)

อวัยวะภายในนั้นจะถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้มอวัยวะ มีเส้นเอ็นที่ยึดอวัยวะกับระบบโครงสร้างร่างกาย การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อบริเวณอวัยวะภายใน เช่น จากการผ่าตัด การยึดรั้ง การบาดเจ็บ หรือจากท่าทาง จะทำให้เกิดการดึงรั้งกับโครงสร้างร่างกาย ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อได้ เทคนิค Visceral Manipulation (VM) เป็นเทคนิคที่คิดค้นโดย Jean-Pierre Barral นักกายภาพบำบัดและ Osteopath ชาวฝรั่งเศส เทคนิคนี้เป็นเทคนิคเบาๆ ให้แรงในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้อวัยวะมีการเคลื่อนไหว และความตึงตัวปกติ ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลโครงสร้างและการทำงานของระบบกระดูกกล้ามเนื้อ หลอดเลือด ระบบประสาท การหายใจ ระบบย่อยอาหาร ทางเดินปัสสาวะ รวมถึงระบบน้ำเหลืองด้วย

ที่มา: http://www.barralinstitute.com/about/vm.php

visc

  • Craniosacral therapy (CST)

คิดค้นโดย John E. Upledger เป็นเทคนิคเบาๆ ที่ทำให้เกิดความผ่อนคลายในร่างกาย มีผลทำให้ลดอาการเจ็บปวด และความผิดปกติของร่างกาย ระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งประกอบด้วย สมอง และไขสันหลัง มีเยื่อหุ้ม และน้ำหล่อเลี้ยงอยู่ภายในเพื่อป้องกัน และลำเลียงสารอาหารมาเลี้ยงสมอง และไขสันหลัง ความเครียดและการทำงานหนัก จะทำให้ระบบนี้ถูกรบกวน เทคนิคนี้จะเป็นการสัมผัสเบา ทำให้การไหลเวียนของน้ำไขสันหลังดีขึ้น จะส่งผลให้ร่างกายผ่อนคลาย สามารถใช้ได้กับอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ ไมเกรน อาการปวดคอ หลังเรื้อรัง Fibromyalgia เป็นต้น

ที่มา: http://www.upledger.com/content.asp?id=61

cranio

  • Spinal and peripheral mobilization

เทคนิคที่มีการขยับเคลื่อนโดยตรงที่ข้อต่อ ซึ่งจะมีผลลดปวด ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อต่อ สามารถทำได้ ทั้งกระดูกสันหลัง และข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อไหล่ เข่า ข้อเท้า เป็นต้น

ที่มา: http://www.physio-pedia.com/Spinal_Manipulation

mobilize

  • Myofascial release

บาดเจ็บ การอักเสบ การผ่าตัด จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืดเกิดการยึดติดได้ เทคนิคนี้เป็นเทคนิคการคลายกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืดที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการลดอาการปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหว เป็นการให้แรงลงไปเบาๆ สักครู่หนึ่ง เพื่อให้เนื้อเยื่อมีการยืดยาวออกเอง

ที่มา: https://www.myofascialrelease.com/about/definition.aspx

mfr

  • McKenzie exercise

คิดค้นโดย Robin McKenzie นักกายภาพบำบัดชาวนิวซีแลนด์ Mckenzie method เป็นการตรวจประเมิน วินิจฉัย และรักษาอาการปวดหลัง คอ รวมถึงรยางค์ด้วย เช่น ไหล่ เข่า ข้อเท้า เป็นต้น ตัวอย่างเทคนิคที่นิยมใช้ได้แก่ back extension exercise หรือการแอ่นหลังซ้ำๆ เพื่อช่วยลดอาการปวดหลัง จากหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท เป็นต้น

ที่มา: http://mckenzieinstituteusa.org/method-patients.cfm

http://www.spine-health.com/wellness/exercise/pain-relief-mckenzie-treatment

mckenzie

Exercises

การออกกำลังกายเป็นวิธีการรักษาทางกายภาพอย่างหนึ่งและมีความสำคัญในการรักษาโรคกระดูก ข้อและเส้นประสาทเป็นอย่างมาก  และเป็นวิธีการที่เรามีการศึกษาและพัฒนาความรู้และนำมาใช้ในการเรียนการสอนทางกายภาพบำบัด

ท่านคงเคยได้ยินว่าการออกกำลังกายเป็นยาวิเศษ  แต่บางคนอาจมีข้อกังขาว่าทำไมบางครั้งถึงมีคนบอกว่าวิ่งมากๆ จะทำให้เข่าเสื่อม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความพร้อมของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ  หากละเลยในจุดนี้แล้วการออกกำลังจึงเป็นโทษ  ดังนั้นเราจึงต้องบอกว่า การออกกำลังกายที่ถูกต้องและเหมาะสมเป็นยาวิเศษ

กรณีผู้ที่มีปัญหาด้านระบบกระดูกและกล้ามเนื้อแล้วนั้นอาจเกิดจากการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง รุนแรงเกินไปหรือเกิดจากอุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา  หรืออาจเกิดจากการทำงาน  หลังจากพูดคุยกันและรับการรักษาแล้ว นักกายภาพจะสามารถสอนท่ากายภายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการของท่าน  นอกเหนือจากการออกกำลังกายปกติ  หรือควรงดท่าใด  เพื่อให้อาการเจ็บปวดของท่านทุเลา ดีขึ้นจนกระทั่งหายได้

พีเค คลินิกกายภาพบำบัดเน้นการวิเคราะห์ปัญหาทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออย่างเป็นองค์รวม และให้เหมาะกับโรคและปัญหาของผู้เข้ารับการรักษานั้นๆ  ดังนั้นการออกแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง อาจจะบอกได้ว่าการออกกำลังกายเป็นยาของนักกายภาพบำบัดที่ให้กับผู้ป่วยท่านนั้นๆ เลยทีเดียว

McKency exercise

Modality equipment

  • การใช้คลื่นเสียงในการรักษา  (Ultrasound Therapy)
  • การใช้ความร้อน-เย็นในการรักษา
  • การใช้เครื่องดึงหลัง-ดึงคอ (Neck and cervical traction)
  • การใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษา (Electrical stimulation)

Ergonomic adjustment

เป็นวิธีการปรับสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อให้ถูกต้องและเหมาะสมกับโครงสร้างของเรา เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่เป็นการรักษาที่ต้นเหตุของโรคที่เกิดจาการทำงาน เช่น โรคที่เกิดจากการนั่งโต๊ะทำงานหรือใช้คอมพิวเตอร์  (Office Syndrome)

การปรับรองเท้า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก